การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่

Main Article Content

เอกชัย แซ่พุ่น
ชัชวาล ชุมรักษา
เรวดี กระโหมวงศ์

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการฝึกอบรมออนไลน์การใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 3) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จำนวน 72 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือ 1) ชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2) แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 3) แบบทดสอบวัดผลคะแนน เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)
       ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีประสิทธิภาพ 81.33/83.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) คะแนนของบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ หลังจากเรียนด้วยชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยหาดใหญ่หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) บุคลากรมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมออนไลน์ เรื่องการใช้งาน Google Apps for Education เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.32, S.D =0.71)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 .สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2561 จาก http://www.pld.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=210

จิระ จิตสุภา. (2555). การพัฒนาแบบจำลองกลยุทธ์การฝึกอบรมออนไลน์ด้วยบทบาทสมมุติด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐานสากล. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นนทบุรี :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

เจิดจันทร์ พลดงนอก. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกอบรมออนไลน์แบบสอนงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการใช้เทคโนโลยีธนาคารพาณิชย์. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณทิต.นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน,” วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7 – 20.

ญาณวุฒิ พรหมเดชากุล. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมออนไลน์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลเอกชน. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหา บัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ. (2555). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ รายวิชาวัฒนธรรมเพื่อชีวิตสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ผกาทิพย์ นันทไชย. (2557). การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่องการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญพนอ พ่วงแพ. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษา สําหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

แสงเดือน บํารุงภูมิ. (2555). การพัฒนาเว็บฝึกอบรมแบบห้องสมุดเสมือนจริง เพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศโดยใช้กรณีศึกษา เรื่องการใช้สารสนเทศในห้องสมุด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Clark, G. 1996. Glossary of CBT/WBT terms. (Online). Available : http://www.clark.net/pub/nractive/alt5.htm [9 June 2002]