การสังเคราะห์งานวิจัยอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความสามารถในการเผชิญ และฝ่าฟันอุปสรรคทางการเรียน : การวิเคราะห์อภิมาน

Main Article Content

กิติยาภรณ์ ยุสินธุ์
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและประมาณค่าขนาดอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคทางการเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคทางการเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและ 3) เพื่อสังเคราะห์สรุปองค์ความรู้จากค่าขนาดอิทธิพลจากงานวิจัยที่เกี่ยวกับความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคทางการเรียนของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การวิเคราะห์อภิมานวิธีของ Glass งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2546 – พ.ศ.2560 จำนวน 56 เล่ม ซึ่งได้คัดเลือกงานวิจัยตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้ค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 786 ค่า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับ
       ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะงานวิจัยที่สังเคราะห์มีตัวแปรกำกับด้านการตีพิมพ์และลักษณะของผู้วิจัย จำนวน 6 ตัว ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย จำนวน 4 ตัว ด้านวิธีวิทยาการวิจัยจำนวน 14 ตัว และด้านคุณภาพของงานวิจัย จำนวน 1 ตัว และค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ .303 และปัจจัยที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยมากที่สุด คือ โปรแกรมการพัฒนา (gif.latex?\bar{X} = .6932) กิจกรรมแนะแนว (gif.latex?\bar{X} = .5814) และการให้คำปรึกษา (gif.latex?\bar{X} = .5812) ตามลำดับ 2) ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยที่ทำให้ค่าขนาดอิทธิพลมีความแตกต่างกัน ได้แก่ ตัวแปรด้านการพิมพ์และคุณลักษณะผู้วิจัย จำนวน 3 ตัวแปร ตัวแปรด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย จำนวน 5 ตัวแปร  ตัวแปรด้านวิธีวิทยาการวิจัย จำนวน 10 ตัวแปร และคุณภาพงานวิจัย จำนวน 1 ตัวแปร และตัวแปรที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพลมีจำนวน 19 ตัว โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ .730 โดยที่ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของขนาดอิทธิพลได้ ร้อยละ 53.3 3) ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลส่วนใหญ่เกิดจากความแปรปรวนของตัวแปรระหว่างเล่มงานวิจัย (ค่าความแปรปรวน เท่ากับ 4.429)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Glass, G. V., McGaw, B. and Smith, M.L. (1981). Meta-Analysis in Social Research. Beverly Hills : Sage Publications.

Hair, J. F. J. B., W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. New Jersey : Prentice Hall.

Harris Cooper, L. V. H., Jeffrey C. Valentine,. (2009). The handbook of research synthesis and meta-analysis. New York : Russell Sage Foundation.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient : Turning obstacles into opportunities. New York : Wiley.

ณีน์นรา ดีสม. (2554). ผลของโปรแกรมความคิดเชิงบวกที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2551). AQ พลังแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน (META-ANALYSIS). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล โชติกพานิชย์. (2549). การศึกษาและพัฒนาความสามารถในการเผชิญอุปสรรคด้านการเรียนของนักเรียนวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

นัทธี เชียงชะนา. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยทางดนตรีศึกษา : การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์เนื้อหา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

เพ็ญประภา นิตยวรรณ. (2550). การพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคและการสร้างเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

มะลิวรรณ เชียงทอง. (2548). ผลของการใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

วลัยภรณ์ ขุนชนะ. (2550). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวรรณ วงศ์พงศ์เกษม. (2554). ผลของโปรแกรมพัฒนาผู้เรียนที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่า อุปสรรคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ดอมินิก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).