ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาบัญชีบริหารสำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจ)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานต่อความพึงพอใจของนักศึกษาในรายวิชาการบัญชีบริหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสื่อการสอนที่มีความเหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและวัดความพึงพอใจของผู้เรียนตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ออกแบบการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มวัดหลังเรียนครั้งเดียว ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการธุรกิจ) จำนวน 43 คน แบบสอบถามออนไลน์ได้พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยในอดีตและรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2564 (สัปดาห์ที่ 8 ภาคการศึกษา 2/2563) แบ่งเป็นการเรียนแบบในห้องเรียน 3 ครั้งและการเรียนออนไลน์รวมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิควีดีโอช่วยสอน 4 ครั้ง นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนในห้องเรียนสูงกว่าการเรียนออนไลน์ ( =8.63 และ 8.27) สื่อการสอนที่ได้คะแนนความพึงพอใจสูงสุดสำหรับการเรียนในห้องเรียนและออนไลน์คือไฟล์นำเสนอที่ส่งให้ก่อนเรียน (( =9.08 และ 8.94) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของกิจกรรม Active Learning 6 กิจกรรมใน 3 ด้านการเรียนรู้คือ ด้านปัญญาและความรู้ ด้านการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ พบว่านักศึกษามีระดับความพึงพอใจในกิจกรรมที่ 2 การดูคลิปวีดีโอการผลิตสินค้าและจำแนกต้นทุน ทั้ง 3 ด้านการเรียนรู้น้อยกว่าที่ได้รับจากกิจกรรมอื่นๆ อย่างมีสาระสำคัญ โดยเฉพาะด้านความรู้และปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยระดับความถึงพอใจเพียง 4.28 จาก 10 คะแนน ผลการศึกษาแสดงให้การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานนักศึกษายังคงมีความพึงพอใจและมีความคิดเห็นเชิงบวกหากได้ร่วมทำกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ผู้สอนและหรือระหว่างเพื่อนร่วมห้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ไทยรัฐออนไลน์. 2564. โควิดรุกรานการศึกษา ปิดโรงเรียน 2 รอบ 90 วัน ฉุดการเรียนรู้เด็กถอยหนัก. ออนไลน์จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2022537. วันที่สืบค้น 31 มกราคม 2564.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. 2554. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสาร Veridian E-Journal. 4(1), 652-666.
พร้อมพร ภูวดิน คุณากร ไวยวุฒิ และสุมาลี เอกพล. 2563. การศึกษาทางการบัญชีกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในการเรียนแบบผสมผสาน. งานประชุมและสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านการศึกษาทางการบัญชี วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2563 ณ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. 97-113.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2561. รายงานผลการดำเนินงานของอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มิถุนายน 2555-พฤษภาคม 2561), 1-14.
เมธาวี จำเนียร และกรกฎ จำเนียร. 2561. ประโยชน์ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 16(3), 113-121.
วัชรวลี ตั้งคุปตานนท์. 2563. ผลการประยุกต์ใช้การเรียนแบบผสมผสานในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. The 8th PSU Education Conference. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 12-13 ธันวาคม 2562, 478.
วิทยา วาโย อภิรี เจริญนุกูล ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. 2563. การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14(34), 285-298.
สิริพร อินทสนธิ์. 2563. โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(2), 203-214.
สุทธิวรรณ ตันติวรจนาวงศ์. 2560. ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสาร Veridian E-Journal. 10(2), 2843-2853.
สุวัฒน์ บรรลือ. 2557. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 11(2), 250-260.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม อำไพ จารุวัชรพาณิชยกุล จันทรรัตน์ เจริญสันติ อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา ปิยะนุช ชูโต และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. 2558. การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู่ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาล. 42(ฉบับพิเศษ), 129-140.
Dzakiria, H., Wahab, M.S.D. and Abdul Rahman, H.D. 2012. Action Research on Blended Learning Transformative Potential in Higher Education-Learners’ Perspective. Business and Management Research. 1(2): 247-254.
Graham, C.R. 2006. Blended Learning Systems: Definitions, Current Trends, and Future Directions. In C. Bonk & C. Graham (Eds.), The Handbook of Blended Learning: Global Perspectives, Local Designs. San Francisco: Pfeiffer.
Kayii, N.E. and Dambo, B. I. 2018. Effect of Blended Learning Approach on Business Education Students’ Achievement in Elements of Business Management in Rivers State University. International Journal of Innovative Information Systems & Technology Research. 6(1), 38-48.
Rodriguez, M. (2014). The Origin and Development of Rating Scales. Online from http://www.edmeasurement.net/resources/rodriguez2016-origin-of-rating-scales.pdf. Retrieved on Jan, 2021.
Sekaran, U. and Bougie, R. 2016. Research Methods for Business: A Skill-Building Approach. 7th Edition. John Wiley & Sons. United Kingdom.
Vaughan, N. 2014. Student Engagement and Blended Learning: Making the Assessment Connection. Education Sciences. 4, 247-264.