การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

ชลธิดา เทพหินลัพ
น้ำเงิน จันทรมณี
รักษิต สุทธิพงษ์
วรรณกร พรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกับนิสิตระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2560 จำนวน 3,342 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัคร ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปกับนิสิตระดับปริญญาตรีที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 3,898 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบอาสาสมัคร และขั้นตอนที่ 4 การประเมินของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 57 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 
       ผลการวิจัยพบว่า
     1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
     2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ มีองค์ประกอบจำนวน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปรัชญา หลักการและแนวคิดของการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 3) คณะกรรมการดำเนินงานของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 4) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 5) การบูรณาการเนื้อหาสาระรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ 6) สมรรถนะบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา ทั้งนี้ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ มีความเหมาะสมและความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมากที่สุด
     3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ พบว่านิสิตมีสมรรถนะบัณฑิตพันธุ์ใหม่ อยู่ในระดับมาก
     4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปฯ พบว่ามีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กันตภณ มะหาหมัด และพูลศักดิ์ โกษียาภรณ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะวิชาชีพสำหรับการเรียนการสอนด้านเทคนิค: ศึกษากรณีศึกษา แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(2), 74-91.

กฤษฎา กุณฑล และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 8(2), 96-106.

จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. (2562). การพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 9(2), 12-29.

จุฑารัตน์ พงษ์ภัทรินทร์. (2555). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานสำหรับผู้ให้คำปรึกษาด้านการศึกษานานาชาติ. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2560). สภาพการเรียนการสอนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. วารสารพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 22-33.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (11 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 (47). หน้า 1.

ณพัฐอร บัวฉุน นฤมล ยุตาคม และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2559). สภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 97-109.

บุญยฤทธิ์ ปิยะศรี และมาเรียม. (2556). รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(1), 97-109.

ปัทมาสน์ บุญทรง (2555). การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปหลักสูตรปริญญาตรีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตามความคิดเห็นของนักศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา. (1 พฤษภาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136(57). หน้า 54.

พูนสุข อุดม. (2548). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(2), 66-75.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2562). หลักการและพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2560). หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง 2560. พะเยา: เอกสารอัดสำเนา.

มาตรฐานการอุดมศึกษา. (17 สิงหาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135(199). หน้า 19.

มลฑา เมืองทรัพย์. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารมหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(2), 127-142.

ลินดา เกณฑ์มา และคณะ. (2558). การศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดการสอนวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสนเทศ, 14(1), 69-81.

วิมล วิวัฒน์เจริญ และวนิดา พลศรี. (2561). การศึกษาประโยชน์และการนำไปใช้จากผลการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์. วารสารราชพฤกษ์, 16(2), 38-45.

วิวรรธน์ จันทร์เทพย์. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เพื่อพัฒนาสมรรถนะการออกแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการสำหรับครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 3(1), 135-149.

สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยดุสิตธานี กรุงเทพมหานคร. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, วันที่ 22 มิถุนายน 2560, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, หน้า 94-104.

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2562). ข้อกำหนดการศึกษาโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: เอกสารอัดสำเนา.