ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

Main Article Content

นิสา แป้นเชียร
เอกรินทร์ สังข์ทอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะ ของครู  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะ ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 จำแนกตาม วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .953  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test) การทดสอบค่าเอฟ (F - test) และการเปรียบเทียบพหุคูณ (LSD)
      ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1   มีทัศนะต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก  2) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 มีทัศนะต่อภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามตามขนาดของสถานศึกษาในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 ได้แก่ ส่งเสริมให้ครูนำเทคโนโลยีมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน เพิ่มงบประมาณด้านครุภัณฑ์ทางเทคโนโลยีให้เพียงพอ และ นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารพร้อมทั้งพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องเพราะเทคโนโลยีก้าวไปอย่างรวดเร็ว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชวลิต เกิดทิพย์. (2549). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).

นพรัตน์ คงเมือง. 2557. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารกับการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนของครู ในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นราธิวาส เขต 2. (ปริญญาศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).

นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะ ผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎี บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.

ผ่องศรี วานิชย์ศุภวงศ์. (2546). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการศึกษา. ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พงศักดิ์ ผกามาศ. (2553). ระบบไอซีทีและการจัดการยุคใหม่ = ICT System and modern Management. กรุงเทพฯ : วิตตี้กรุ๊ป.

ภัทรา ธรรมวิทยา. (2557). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษาใน เขตธนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. 10(1), 1.

ภัทราพร ธัญกิจเจริญสิน (2559). ภาวะผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. 3(1),8.

มณฑกานต์ คงนวล. 2556. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).

ยืน ภู่วรวรรณ เเละสมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

โรสนานี หะมิงมะ. (2553). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี).

วสันต์ อติศัพท์. (2553). ภาวะผู้นำและกระบวนทัศน์ใหม่ทางเทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารประกอบการสัมมนาโสตเทคโนโลยี ครั้งที่ 18. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วินา สุทธิโพธิ์. (2561). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(2), 99 – 114.

วิมัลลี คำนุ. (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ สถานศึกษาสังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 7(2), 2 – 26.

ศรัณภัทร์ ไตรสุวรรณ (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 12(2), 123 – 137.

สันติ หอมทวีโชค. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ศิลปากร).

สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 16(4), 216 – 224.

สุทธนู ศรีไสย์ เเละคณะ. (2547). ประสิทธิภาพการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1), 350 - 363.

สมจิตร ขวัญแดง (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย หาดใหญ่).

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสําคัญที่สุด. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี.

อุดม ต้องเซ่งกี่. (2551). ปัญหาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพื่อการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2. (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี).