การพัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา

Main Article Content

ภควัต จันทรรัศมี
ชัชวาล ชุมรักษา
เรวดี กระโหมวงศ์

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้งานแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ 3) ศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือ 1) แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา 2) แบบประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้การใช้งานโสตทัศนูปกรณ์ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ มีค่าประสิทธิภาพ 84.44/82.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลการใช้งานของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา หลังจากเรียนรู้การใช้งานด้วย แอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ฯ มีความรู้สูงกว่าก่อนใช้งานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ระดับความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อแอปพลิเคชันความเป็นจริงเสริมในคู่มือการใช้โสตทัศนูปกรณ์ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยสงขลา เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.54) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (=3.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ธานินทร์ อินทรวิเศษ. (2560). การพัฒนาสื่อเสมือนจริง เรื่อง แหล่งเรียนรู้ลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง ตามแนวคิดเมนทอลโมเดล (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

นิติศักดิ์ เจริญรูป. (2560). “การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย.” วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 13-30.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปภาณิน สินโน. (2558). ชุดการสอนความเป็นจริงเสริม เรื่อง การศึกษาชนิดพรรณไม้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไพฑูยร์ ศรีฟ้า. (2556). เรื่อง แนวคิดในการการผลิตสื่อความจริงเสมือน (Augmented Reality). เอกสารประกอบการบรรยาย, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2563). การพัฒนาคู่มือความจริงเสมือน เรื่อง โปรแกรมนันทนาการสำหรับคริสตจักร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(2), 55-65.

ศักดินนท์ พุ่มพฤกษ์. (2559). การพัฒนาหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สมจิต จันทร์ฉาย. (2557). การออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุพจน์ พ่วงศิริ. (2559). การพัฒนาคู่มือความจริงเสริม เรื่อง การใช้เครื่องวัดปริมาณไขมันในร่างกาย สำหรับนิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุดปฐพี เวียงสี. (2559). ประเทศไทย 4.0 โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2559, จาก http://www.sudpatapee.com/index.php/2014-08-15-15-18-27/item/176-4-0

Fleck, S. & Simon, G. (2013). “An Augmented Reality Environment for Astronomy Learning in Elementary Grades: An Exploratory Study”. Proceeding IHM '13 Proceedings of the 25th Conference on l'Interaction Homme-Machine. Retrieved August 25, 2017, from https://www.researchgate.net/publication/258518453

Juan, C., Beatrice, F. & Cano, J. (2008). An Augmented Reality System for learning the interior of Human Body. ICALT '08 Proceedings of the 2008 Eighth IEEE International Conference on Advanced Learning Technologies (p. 186-188). Retrieved August 11, 2017, from https://ieeexplore.ieee.org/stamp/stamp.jsp?tp=&arnumber=4561662.

Kangdon Lee. (2012). Augmented Reality in Education and Training. TechTrends, 56 (2), 13–21.

Noyudom, A. & Wongwatkit, C. (2018). Effectiveness of interactive mobile application instruction on students’knowledge on eye cleaning. Journal of nursing health care, 36(2), 132-180.