มโนทัศน์พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์กับการสอนสังคมศึกษาในระดับประถมศึกษา ผ่านการสอนสาระการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์

Main Article Content

วิภาดา พินลา
วิภาพรรณ พินลา

บทคัดย่อ

วิ


วิชาสังคมศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้นักเรียนเข้าใจหรือสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรมอย่างเป็นระบบ รู้จักใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรตามเป้าหมายที่กำหนด ตลอดจนช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบ้านเมือง และวิธีแก้ไขของภาครัฐบาลได้ ดังนั้นครูสังคมศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น โดยเฉพาะนักเรียนในระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นนักเรียนในช่วงชั้นแรกที่ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง เพื่อใช้ในการเรียนรู้ในระดับชั้นต่อไป โดยมีขั้นตอนกระบวนการ 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เศรษฐศาสตร์ ขั้นที่ 2 แลกเปลี่ยนเศรษฐศาสตร์ ขั้นที่ 3 สร้างองค์ความรู้เศรษฐศาสตร์ร่วมกัน ขั้นที่ 4 นำเสนอความรู้เศรษฐศาสตร์ ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติทางเศรษฐศาสตร์ และ ขั้นที่ 6 ประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์ โดยแต่ละขั้นตอนสามารถส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ในการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ 

Article Details

บท
บทความทางวิชาการ
Author Biographies

วิภาดา พินลา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ดร. สาขาการสอนศิลปศาสตร์ (การสอนสังคมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เลขที่ 140 หมู่ 4  ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ : 074-317682

 

 

วิภาพรรณ พินลา , คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ดร. สาขาการสอนศิลปศาสตร์ (การสอนสังคมศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ เลขที่ 140 หมู่ 4  ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทรศัพท์ : 074-317682

References

กวี วรกวิน และบุษบา คุณาศิรินทร์. (2550). เศรษฐศาสตร์ ม.1. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

เชษฐภูมิ วรรณไพศาล. (2559). หลักเศรษฐศาสตร์สำหรับครูมัธยมศึกษา. เชียงใหม่: โชตนาพริ้นท์.

ภณิดา มาประเสริฐ และคณะ. (2554). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สังคมศึกษา หน่วยที่ 6-11. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา (พานิช). (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาดา พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาในการพัฒนามโนมติพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนักเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 17(1), 16-24.

วิภาพรรณ พินลา และวิภาดา พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Alberta Learning. (2004). Focus on inquiry : a teacher's guide to implementing inquirybased learning. Edmonton: Alberta Learning and Teaching Resources Branch.