การพัฒนาหนังสือฝึกทักษะเพิ่มเติมเน้นทักษะการอ่านการเขียนด้วยตนเอง แบบ 4P ของนักเรียน

Main Article Content

ชยพล ใจสูงเนิน
ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือฝึกทักษะเพิ่มเติมเน้นทักษะการอ่านการเขียนด้วยตนเองของนักเรียน มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนของนักเรียน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครูโรงเรียนในเขตพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี และสระแก้ว ทั้งโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสังกัดการศึกษาเอกชน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา และตรวจสอบหนังสือฝึกทักษะเพิ่มเติมเน้นทักษะการอ่านการเขียนด้วยตนเองของนักเรียน โดยใช้การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนาหนังสือฝึกทักษะเพิ่มเติมที่เน้นทักษะการอ่านการเขียนด้วยตนเองของนักเรียน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เน้นการพัฒนาและแก้ปัญหานักเรียนตามกระบวนการฝึก แบบ 4P ที่มีจุดเน้น 4 ด้าน คือ 1) ฝึกทำความเข้าใจเพื่อให้ผู้เรียนจดจำ เข้าใจหลักภาษาไทยได้ชัดเจนและถูกต้องสามารถนำไปใช้ได้ 2) ฝึกอ่านเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยเข้าใจความหมายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้การอ่านด้วยตนเองต่อไป 3) ฝึกเขียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการเขียนที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย และ 4) ฝึกทบทวนเพื่อให้นักเรียนเกิดความชำนาญเป็นทักษะติดตัวจนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วด้วยตนเอง หนังสือฝึกทักษะเพิ่มเติมทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเนื้อหาตามพัฒนาการเป็น3 ระดับ ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 พื้นฐานอักษรและการสร้างคำ,  เล่มที่ 2 คำยากและประโยค, เล่มที่ 3 ใจความสำคัญและวรรณกรรม และเล่มที่ 4 ทบทวนทักษะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปทุมกาญจน์ ศรีสุวรรณ. (2549). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประดับ จันทร์สุขศรี. (2551). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์: เรียงความ ย่อความ และสรุปความ ช่วงชั้นที่ 2- ช่วงชั้นที่ 4. กรุงเทพฯ: องค์การค้า ของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.

รังสิมันตุ์ ฉิมรักษ์. (2550). การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สมสนิท ไพศาล. (2548). การพัฒนาแผนการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกและหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานการประเมินผลความสามารถในการอ่าน การเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. กลุ่มนิเทศติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การพัฒนาทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2562). การส่งเสริมการรู้หนังสือในเด็กเล็ก: How to encourage literacy in young children (and beyond). วารสารวิชาการ, 22(2): เมษายน-มิถุนายน 2562. กรุงเทพฯ: เอส.บี.เค.การพิมพ์.

อัฉราวดี ลี้ปราศภัย. (2548). การใช้สารภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขาช่องลม จังหวัดระยอง. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอมอร ตั้งศุภกุล. (2549). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาไทย เรื่อง ประเพณีบูชาอินทขีล สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนพระหฤทัย จังหวัดเชียงใหม่. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Klauda, S. L. (2008). The relations of children’s perceived support for recreational reading from parents and friends to their motivation for reading. (Doctoral dissertation). Retrieved from ProQuest. (1663080091).

Huck, C. S. (1961). Helper, Susan and Hickman. Janet. Children’s Literature in the Elementary School. New York: Harcourt Brace Jovanovich.