องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 510 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และโปรแกรม Mplus
ผลการวิจัย พบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีจำนวน 5 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร 2) องค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์ 3) องค์ประกอบด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 4) องค์ประกอบด้านทักษะความร่วมมือ และ 5) องค์ประกอบด้านคุณธรรมจริยธรรม และผลการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี ค่าไค - สแควร์ () เท่ากับ 3.049 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 2 ค่า p – value มีค่าเท่ากับ 0.217 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 1.000 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.032
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
คมกริช พรหมฉิน. (2560). การวเิคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ ์ในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี. จันทบุรี.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 29 ธันวาคม 2560, จาก http://www.siamhrd.com/leadership.html.
ธนาคารกรุงเทพ. (2559). เส้นทางสู่โมเดลประเทศไทย 4.0. สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.bangkokbanksme.com/article/5992.
ธีระ รุญเจริญ. (2554). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ประชาติธุรกิจ. (2559). ปรับ "ทักษะ-เรียนรู้" รับ Thailand Economy 4.0. สืบค้น 27 สิงหาคม 2559, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1468862379
พิมพ์ฐดา วัจนวงศ์. (2555). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2551). การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
รักเกียรติ หงษ์ทอง. (2559). ภาวะผู้นำ. เพชรบุรี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง. วิจิตร ศรีสะอ้าน. วิจิตรชี้การศึกษาไทยขาดผู้นำ. สืบค้น 11 ธันวาคม 2558, จาก http://www.komchadluek.com/section/การศึกษา.
สกุณา อินอยู่. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 และ 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(1), 59-70.
สุกรีย์ อุดคนดี. (2555). ศึกษาภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
สุรีรัตน์ โตเขียว. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. นครสวรรค์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.
สำนักงานนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายงบประมาณปี 2560 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.
อรรธิกา พังงา. (2556). “เส้นทางสู่การสร้างองค์กรนวัตกรรม.” สืบค้น 15 มีนาคม 2559, จาก http://articles.citu.tu.ac.th/wp-ontent/uploads/2013/04/Research10new.pdf
Badillo. (2013). 21st Century Leadership Skills January : Ten skills fo the future workforce.
Boone, M. (1992). The Impact of Leadership Behavior of The Superintendents on Restructuring Rural Schools, Dissertation Abstracts. 11-13, October.
Shalom. (2014). Leadership Skills for the 21st Century. Retrieved from http://cfcoaching.org/?p=537
Strock, J. (2014). 25 Essential 21st Century Leadership Skills. Retrieved September 2, 2014, from http://www.lifescienceleader.com/doc/essential-st-century-Leadership-skills-0001
Watson. (2000). Watson, Samy Hanna. Leadership Requirements in the 21st Century: The Perceptions of Canadian Private Sector Leaders, Dissertation Abstracts International. 13 (1), 43-57. Retrieved January 15, 2013, from http://www.annbadillo.com/leadership/2013/01/