การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะของครู 4.0 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จุฑามาศ จันทร์ศร
สุนีย์ เงินยวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะของครู 4.0  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ   ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปีการศึกษา 2562  จำนวน  597  คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน (Multistage  Random  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้  คือ  แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณ (Rating  Scale)  จำนวน  131  ข้อ  ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดหมายของการวัด (IOC) เท่ากับ 0.8 ถึง 1.0   และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  เท่ากับ 0.991  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory  Factor  Analysis : EFA) สกัดองค์ประกอบโดยวิธีสกัดองค์ประกอบหลัก (Principal  Component) และใช้การหมุนแกนแบบ varimax  


ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะของครู 4.0 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่ 1) ด้านบุคลิกภาพของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดและนวัตกรรม  2)  ด้านความรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและนวัตกรรม  3) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิดและนวัตกรรม 4)  ด้านทักษะการวัดและประเมินผลผู้เรียนศตวรรษที่ 21 และ 5)  ด้านทักษะการผลิตและพัฒนาสื่อเทคโนโลยี  โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.55 – 0.87  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกองค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะของครู 4.0 ได้ 73.469%

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จุฑามาศ จันทร์ศร, Faculty of Education, Chiang Mai University

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

สุนีย์ เงินยวง, Faculty of Education, Chiang Mai University

สาขาวิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพมหานครฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ดาวน์พงษ์ รัตนสุวรรณ. (2559). การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ประเทศไทยกับการก้าวไกลทางการศึกษา”. การประชุมวิชาการเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางเพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมศึกษา ประจำปี 2559. สืบค้นจาก http:// www.kroobannok.com/79814.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 7 (2), 14-29.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พาสนา จุลรัตน์. (2561). การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 2363-2380.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2560). โรงเรียน 4.0: โรงเรียนผลิตภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2560). ก่อนถึงโรงเรียน 4.0: โรงเรียนสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัศมี เลิศอารมย์. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 102-135.

Clark, Onristopher M. (1995). Thoughtful Teaching. London : Cassell.