กระบวนการการบริหารจัดการวงดนตรีไทยเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

อภินันท์ พฤกษะศรี
ประชุม รอดประเสริฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการการบริหารจัดการและสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาวงดนตรีไทยเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยจำแนกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสาร และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารโรงเรียนและครูสอนดนตรีไทยที่ประสบผลสำเร็จระดับชาติ จำนวน 25 คน จาก 5 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านดนตรีไทย จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 3 สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปฎิบัติจริงด้านดนตรีไทยที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารโรงเรียน และครูสอนดนตรีไทย จำนวน 21 คน


ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการบริหารจัดการวงดนตรีไทยเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้น คือ การเตรียม การสร้างสรรค์ การทบทวน และการปรับปรุง ซึ่งแต่ละกระบวนการมีแนวทางการพัฒนาดังนี้คือ 1) การเตรียม มีแนวทางการพัฒนา คือ หลักการและแนวคิด การจัดหาและจัดสรรงบประมาณ การจัดตั้งคณะทำงาน และการจัดสร้างห้องปฏิบัติการดนตรี 2) การสร้างสรรค์ มีแนวทางการพัฒนา คือ การอำนวยการสั่งการ การจัดหาเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและการเฟ้นหาผู้เรียนผู้สอน 3) การทบทวน มีแนวทางการพัฒนา คือ การสร้างและพัฒนาหลักสูตร ความมีคุณภาพและความเพียงพอของเครื่องดนตรี ผลงานเป็นที่ยอมรับ และความสนใจความเอาใจใส่ของผู้เรียนผู้สอน 4) การปรับปรุง มีแนวทางการพัฒนา คือ การจัดการการเรียนการสอน การฝึกซ้อม ผู้ปกครองชุมชนให้การสนับสนุน และชุมชนยอมรับในความรู้ความสามารถของนักเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อภินันท์ พฤกษะศรี, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Faculty of Education and Liberal Arts)
125/502 ถ.พลพิชัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร. 0-7420-0300 ต่อ 358, 384 เฟกซ์. 0-7420-0354 อีเมล: edu@hu.ac.th

ประชุม รอดประเสริฐ, คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Faculty of Education and Liberal Arts)
125/502 ถ.พลพิชัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทร. 0-7420-0300 ต่อ 358, 384 เฟกซ์. 0-7420-0354 อีเมล: edu@hu.ac.th

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ศิลปหัตถกรรมระดับชาติ. สืบค้น 13 มิถุนายน 2560, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=40493&Key=news_act

นฤภพ ขันทับไทย. (2559). กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางดนตรี (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ

ชวนพิศ ศิลาเดช และคณะ. (2557). การบริหารจัดการหลักสูตรสุนทรียศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความเป็นมืออาชีพทางดนตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(1), 14-25.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นิวัฒน์ วรรณธรรม. (2558). เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของวงดนตรีลูกทุ่งมัธยมศึกษาในประเทศไทย. (ปริญญานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

นวราช อภัยวงศ์. (2558). การบริหารจัดการวงดนตรีไทยโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ

วิระ บำรุงศรี. (2558). การบริหารจัดการวงดนตรีลูกทุ่งในประเทศไทย กรณีศึกษาวงดนตรีลูกทุ่งบุญศรี รัตนัง, นกน้อย อุไรพร, อาภาพร นครสวรรค์, เอกชัย ศรีวิชัย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16(2), 48-59.

สุกัญญา ทองทิพย์. (2560). แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จของวงโปงลางระดับมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารช่อพะยอม. 28(2), 146-153.

ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. (2552). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาดนตรีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น

สุพัตรา วิไลลักษณ์. (2556). การจัดการศึกษาดนตรีไทยในอนาคต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

พรสวรรค์ จันทะวงศ์. (2557). การจัดการวงโยธวาทิตในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, 14(1), 127-137.

สุนันทา มิตรงาม. (2558). ทิศทางนโยบายการบริหารจัดการดนตรีและการแสดงของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ,17(1), 109-119.

Colaizzi, P. (1978). Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential - Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), London: Oxford University Press.

Porter, Michael E. (2011). "What is strategic" HBR's 10 must reads on strategy. Boston: Harvard Business Review.