การศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรรายวิชานักศึกษาวิชาทหารไทย (นศท.) ใจรักชาติ ให้กับนักศึกษาวิชาทหารของศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 42
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารไทย (นศท.) ใจรักชาติ 2) ศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารไทย (นศท.) ใจรักชาติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาทหารต่อหลักสูตรนักศึกษาวิชาทหารไทย (นศท.) ใจรักชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 - 3 ของโรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จำนวน 67 นาย โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินโครงร่างหลักสูตร นศท.ไทย ใจรักชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติพื้นฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรที่สามารถสร้างจิตสำนึกรักชาติได้และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนต้องมีองค์ประกอบของเนื้อหาคือ ประวัติศาสตร์ชาติไทย สถาบันพระมหากษัตริย์กับชาติไทย สังคมพหุวัฒนธรรม และสถาบันครอบครัว ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ ค่าประสิทธิภาพของหลักสูตร เท่ากับ 85.89 / 87.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 ประสิทธิผลของหลักสูตร พบว่า คะแนนเฉลี่ยการประเมินระหว่างเรียนตามหลักสูตร นศท.ไทย ใจรักชาติ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 83.23 และการประเมินหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ร้อยละ 84.18 ดังนั้นหลักสูตรมีค่าประสิทธิผล เท่ากับ 83.23/84.18 และความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาทหารจากการใช้หลักสูตร นศท.ไทย ใจรักชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด (mean = 4.75)
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กิตติ อุตมกูล. (2558). การประเมินการจัดการฝึกสอนนักศึกษาวิชาทหาร กรณีศึกษาศูนย์ฝึกย่อยกองพันทหารราบ ศูนย์กลางกำลังสำรอง. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2551). “จิตตปัญญาศึกษาในประเทศไทย” จิตตปัญญาศึกษา : การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์. นครปฐม : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
เจษฎา มีบุญลือ. (2553). ความมั่นคงแห่งชาติ การสร้างชาติไทยให้ยั่งยืน. กรุงเทพ ฯ : ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.
ชัยพร วิชชาวุธ และธีระพร อุวรรณโณ. (2530). แนวคิดและพัฒนาการใหม่ในการปลูกฝังจริยธรรม : จริยธรรมกับการศึกษา. โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดลฤดี วาสนานนท์ และ คณิต เขียววิชัย. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการฝึกนักศึกษาวิชาทหารของกองทัพไทย. วารสารวิชาการป้องกันประเทศ. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2561. หน้า 60-75.
ธงรบ ขุนสงคราม. (2550). การเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมหลังเข้ารับการฝึกหลักสูตรวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหารมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2550. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พรหเมศวร์ เกษมไพศาล. (2550). การตัดสินใจศึกษาต่อวิชาทหารชั้นปีที่ 4 และ 5 ของนักศึกษาวิชาทหาร. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สหชัย สาสวน. (2554). พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธิชัย คัตตะพันธ์ (2558). แนวทางการพัฒนางานการปลูกฝังอุดมการณ์ ความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 มณฑลทหารบกที่ 13. กรุงเทพ ฯ : วิทยาลัยเสนาธิการทหาร.
สุจิณณา สวัสดี. (2555).ความพึงพอใจในการเข้ารับการฝึกของนักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนรักษาดินแดน ศูนย์การกำลังสำรอง. การค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภทัต บัวชุม. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปี ที่ 1-3 ที่มีต่อการฝึกภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2559 ศูนย์ฝึกย่อยโรงเรียนภัทรบพิตร จังหวัดบุรีรัมย์ หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 26. บุรีรัมย์ : หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 26.
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2562, 29 สิงหาคม). ประกาศหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เรื่อง ให้มีสภาพเป็นนักศึกษาวิชาทหาร. กรุงเทพ ฯ : กองทัพบก.