ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดตรัง

Main Article Content

ปรเมศวร์ ขาวสุด
ดวงเดือน สุวรรณจินดา
สุจินต์ วิศวธีรานนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)  เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของมโนมติ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต    ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกับของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ (2)  เปรียบเทียบความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกับของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ


                  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม สุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียน จำนวน 70 คน แล้วใช้การสุ่มอย่างง่าย (จับสลาก) เพื่อจัดนักเรียนเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1)  แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต (2)  แบบวัดมโนมติ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต และ (3)  แบบสอบถามความสุข  ในการเรียน เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย                        ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที            


                  ผลการวิจัยปรากฏว่า (1)  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยของมโนมติเรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต สูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ (2)  นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีความสุขในการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ของสิ่งมีชีวิต สูงกว่าของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ดวงเดือน สุวรรณจินดา, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชั้น 6 อาคารวิชาการ 3 9/9 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

 

สุจินต์ วิศวธีรานนท์, สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชั้น 6 อาคารวิชาการ 3 9/9 หมู่ 9 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

References

กิติยวดี บุญซื่อ, ปิตินันท์ สุทธสาร, วิภา ตัณฑุลพงศ์, และสุนทร ช่วงสุวนิช. (2540). การเรียนรู้อย่างมีความสุข. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ชุติมา หันตุลา. (2558). การศึกษาความเข้าใจมโนมติและการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบทำนาย สังเกต อธิบาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จรรยารักษ์ กุลพ่วง. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

จุฑามาศ บุญทวี. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

เตชาเมธ เพียรชนะ, ศิริรัตน์ ศรีสะอาด, และนาตยา ปิลันธนานนท์. (2561). การปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 66-81.

ทิพย์วัลย์ สุทิน. (2555). การเรียนรู้เชิงรุก จากขงจื๊อถึงเอ็ดการ์ เดล. จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 5(1), 4-9.

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, และนฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 357-369.

บพิตร อิสระ. (2550). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). แนวการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 147-148.

พิทยา อินทุรัตน์. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ยงยุทธ อังคสัญญลักษณ์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทัศนคติการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ลัดดาวัลย์ สาระภัย. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

วทัญญู วุฒิวรรณ์. (2553). ผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วรรณภา สายมาตย์. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุก เพื่อพัฒนาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

วิชัย เสวกงาม. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. สงขลา: เอกสารประกอบการบรรยาย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิทวัส ดวงภุมเมศ, และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1-13.

ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2559-2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำราญ สิริภคมงคล. (2554). การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุดารัตน์ เกียรติจรุงพันธ์. (2559). การศึกษามโนทัศน์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาชีววิทยาเพิ่มเติม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 42(188).

สุรชัย จันทร์เพ็ง. (2559). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม เสริมด้วยแบบจำลองวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ เรื่อง เซลล์ และการคิดวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีเพศต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

Orhan, A. a. R., O.T. (2007). The effects of problem-based active learning in science education on students’ academic achievement, attitude and concept learning. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 3(1), 71-81.

Rosciano, A. (2015). The effectiveness of mind mapping as an active learning strategy among associate degree nursing students. Teaching and Learning in Nursing, 10(2), 93-99.

Seligin, D. (2012). Alternative Framework, Attitudes towards Science and Problem Learning: A Pilot Study. IOSR Journal of Humanities and Social Science (JHSS), 2(2), 28-41.

Treagust, D., & Duit, R. (2008). Conceptual change: A discussion of theoretical, methodological and practical challenges for science education. Cultural Studies of Science Education, 3(2), 297-328.