การเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา

Main Article Content

อาภากร ราชสงฆ์
กาญจนวัลย์ ปรีชาสุชาติ
ภูริทัต สิงหเสม
สุภาพร ผลบุญ
ณัฐพล บุญทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการเรียนรู้อย่างมีความสุข ของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา เป็นบทความวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งในการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนวัยรุ่น ในจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ปีการศึกษา 2558 ในจังหวัดสงขลา จำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 23,354 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 1,064 คน เครื่องมือที่ใช้มีจำนวน 2 ชุด แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลา ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และแบบสอบถามการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .88


              กลุ่มตัวอย่างนักเรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.74 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .34 เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านชีวิตที่สมดุล มีค่าเฉลี่ยสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.95 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .42 รองลงมา คือ ด้านมุ่งมาดและมั่นคง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.79 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .43 ด้านเปิดประตูสู่ธรรมชาติ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.40 ด้านเห็นคุณค่า การเรียนรู้ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45 รวมทั้งด้านความรักและศรัทธา และด้านดำรงไมตรีจิต โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44


           ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลามีระดับการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและในทุกด้าน ได้แก่ ด้านความรักและศรัทธา ด้านเห็นคุณค่าการเรียนรู้  ด้านเปิดประตูสู่ธรรมชาติ ด้านมุ่งมาดและมั่นคง ด้านดำรงไมตรีจิต และด้านชีวิตที่สมดุล แสดงให้เห็นว่านักเรียนวัยรุ่นในจังหวัดสงขลามีความรักความศรัทธาต่อการเรียนจึงช่วยให้นักเรียนสนใจบทเรียน สนใจครู การจัดการเรียนการสอนของครูและนักเรียนเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความรักและความเข้าใจที่ตรงกัน ให้กำลังใจกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมเรียนรู้ในบทเรียน และเรียนรู้อย่างสนใจ นักเรียนจึงเกิดการเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ครูอาจช่วยให้นักเรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยการเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้บทเรียนนอกห้องเรียนซึ่งจะช่วยให้นักเรียนมีอิสระในการคิดบทเรียนภายใต้ธรรมชาติ เนื่องจากวัยรุ่นจะสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจถึงแม้จะเป็นเรื่องยากหรือซับซ้อน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อาภากร ราชสงฆ์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

140 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา 90000

 

กาญจนวัลย์ ปรีชาสุชาติ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

140 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

 

ภูริทัต สิงหเสม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ดร.สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

140 หมู่ 4 ถนนกาญจนวนิช ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

 

 

สุภาพร ผลบุญ, กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม

120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

ณัฐพล บุญทอง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นิสิตปริญญาเอกสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กทม. 10110

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2542) คำชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ.กรุงเทพฯโรงพิมพ์กรมศาสนา

กระทรวงศึกษาธิการ (2551 ) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.ออนไลน์ :http://lowersecondarymath.ipst.ac.th/wpcontent/uploads/2

กระทรวงศึกษาธิการ (2555) แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559

กระทรวงศึกษาธิการ ( 2558) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ

ศรีเรือน แก้วกังวาน ( 2549) จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่มที่ 2 กรุงเทพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บพิตร อิสระ ( 2550) การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา (2542) จิตวิทยาการศึกษา กรุงเทพฯ : พัฒนาการศึกษา

พชรพงศ์ ตรีเทพา.( 2554) “ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษยอดนิยม :กรณีศึกษาโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร”. การบริหารศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา 6(1),1000-116 )

พระธรรมปิฏกป.อ.ปยุตโต (2547) คู่มือชีวิต กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา

แพรวพรรณ์ พิเศษ ( 2548) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ศรีเรือน แก้วกังวาน (2540) จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย เล่มที่ 2 กรุงเทพฯ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สายสุดา สุขแสง(2558) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสงขลา.มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2559) คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้”สังคม คุณคณากรสกุล. (9 กันยายน 2552). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2557 จาก http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=santi&id=117.

สุดหทัย รุจิรัตน์(2558) รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษาวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร