การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและวางรูปแบบการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภายในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของจังหวัดสงขลา

Main Article Content

นุรซีตา เพอแสละ
จุฑารัตน์ คชรัตน์
นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว
ยะมีน แหละตี

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงและวางรูปแบบ        การป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามภายในเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ของจังหวัดสงขลา วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์เชิงลึกและ       การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการออกกลางคันของนักเรียน ได้แก่ ปัญหาการมั่วสุมและยาเสพติดของนักเรียน ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์เชิงชู้สาวระหว่างเรียนอันนำไปสู่การออกจากระบบการศึกษาอย่างสมบูรณ์ วัฒนธรรมการแต่งงานเพิ่มความรับผิดชอบและหลุดจากระบบการศึกษาอย่างถาวร เยาวชนถูกเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ใช้แรงงานก่อนวัยอันควร

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นุรซีตา เพอแสละ, Education Chulalongkorn University

-

นิวัตน์ สวัสดิ์แก้ว, Faculty of Political Science Hatyai University

-

ยะมีน แหละตี, Darul Mujahideen School Songkhla

-

References

กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล (2556). อึ้งเด็ก 3 ล้านคนหายจากระบบการศึกษา ความยากจน-มุ่งคะแนนผลักเด็กพ้น ร.ร. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2558. จาก https://www.tcijthai.com/officetcij/view.php?ids=2982.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (2553). โครงการสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2552. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิเลาะ แวอุเซ็ง (2555). รายงานการวิจัยสภาพปัญหาและการพัฒนาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจากัด วี.ที.ซี. คอมมิวนีเคชั่น.

อภิชาติ จีระวุฒิ (2557). ศธ.เดินหน้าจัดการศึกษาภาคใต้ มอบ กศน.ตามเก็บเด็กตกหล่นในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จ.ชายแดนใต้ เข้าเรียน ม.ต้นสายสามัญ. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2558. จาก https://wbns.oas.psu.ac.th/shownews.php?news_id=76772