ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถี คน น้ำ ป่า เขาปู่ -

Main Article Content

ชัชวาล ชุมรักษา
คุณอานันท์ นิรมล
ศิลป์ชัย สุวรรณมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ 2)พัฒนารูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถี คน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ 3)ประเมินรูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถี คน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ การวิจัยระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้กระบวนการสัมภาษณ์ และการจัดประชุมกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ ใช้กระบวนการปฏิบัติการภาคสนาม ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ ใช้กระบวนการประชุมปฏิบัติการกับผู้นำชุมชนจำนวน 5 คน และสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชุมชนเขาปู่ ได้แก่ (1) วัฒนธรรมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (2) การทำสวนวนเกษตร (3) ความสัมพันธ์ของกลุ่มชน (4) วัดถ้ำเก่ารากเง่าของชุมชน (5) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) ศูนย์การเรียนรู้วิถีชุมชน (7) ศูนย์การเรียนวัดและชุมชน (8) ศูนย์การเรียนครูเจ้าสำนัก 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ ได้แก่ (1) ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม (2) ด้านพื้นที่ ตัวอาคาร และสภาพแวดล้อม (3) ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 3)รูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถี คน น้ำ ป่า เขาปู่ เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ มีองค์ประกอบดังนี้ (1) ด้านเอกลักษณ์ (2) ด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม (3) ด้านพื้นที่ ตัวอาคาร และสภาพแวดล้อม (4)การมีส่วนร่วมของชุมชน (5)แนวทางการจัดการ 4)การประเมินรูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ สรุปว่า (1) องค์ประกอบที่เป็นรูปธรรม ได้แก่  สิ่งปลูกสร้าง สวนหย่อม และการจัดสภาพแวดล้อม ส่วนที่เป็นนามธรรม ได้แก่ องค์ความรู้ สารสนเทศชุมชน วิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) รูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดเป็นภูมิทัศน์นำวัฒนธรรม และจัดอยู่ในประเภทภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ได้รับการออกแบบและสร้างสรรค์อย่างตั้งใจโดยมนุษย์ (3) แนวทางการจัดการ ใช้สื่อกิจกรรม วิธีการอนุรักษ์ และการพัฒนาในขอบเขตของพื้นที่ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน (4) รูปแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีคน น้ำ ป่า เขาปู่ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ชุมชนเห็นความสำคัญ มีจิตสำนึก และตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในศูนย์การเรียนรู้ก็จะช่วยให้ชุมชนเกิดคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ชัชวาล ชุมรักษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คุณอานันท์ นิรมล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาจารย์เกษียณอายุราชการ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ศิลป์ชัย สุวรรณมณี, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อาจารย์ ดร.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

References

กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์ วรินธร เบญจศรี วีนัส ศรีศักดา จินตนา กสินันท์ เสาวรส ยิ่งวรรณะ คุณอานันท์ นิรมล และศิริรัตน์ สินธ์ประจักผล. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำของเยาวชนลุ่มน้ำคลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. รายงานวิจัย. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2551). ชุมชนกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อุษาคเนย์.

ชัชวาล ชุมรักษา และคุณอานันท์ นิรมล. (2560). การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน “คน น้ำ ป่า เขาปู่”เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ. รายงานการวิจัย. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ณัชชา สกุลงาม. ภูมิทัศนวัฒนธรรมชุมชนชาวแพ : กรณีศึกษาชุมชนชาวแพบริเวณสะพานรันตี หมู2 ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก, http://www.proceedings. su.ac.th/e1/files/art/o_02.pdf.

ปรีชา ปัญญา นฤพล ไมตรี จันทรา สุรพงศ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์. (2558). “การพัฒนารูปแบบศูนย์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต,” วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 15 (พิเศษ), 81-190

รัฐพงศ์ ปิ่นแก้ว และพัสตราภรณ์ ทิพยโสธร. (2557). “การออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมปากคลองสวนหมากเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน,” การประชุมวิชาการทางการศึกษาระดับชาติครั้งที่ 4 “การพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง : กระบวนทัศน์การเรียนรู้สู่อาเซียน”. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560, จาก, http://161.246.14.22/ocs/submissionfiles/conferences/ 4/schedConfs/4/papers/54/submission/review/54-102-1-RV.pdf.

รุ่งจิตร กองคำ. (2541). การพัฒนาจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 โดยใช้กระบวนการสร้างนิสัย. เชียงใหม่ : วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประถมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลัดดา ศิลาน้อย และคณะ. (2543). ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ นิสากร กล้าณรงค์ และแอ๊ด ย่าฝา. (2557). “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลเขาปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล,” วารสารปาริชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ. 27(1), เมษายน-กันกันยายน 2557.

สรรค์ เวสสุนทรเทพ และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. (2557). “แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไท,” วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10(3), 143-163.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2549). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

อนิสา สังข์เจริญ. (2553). การพัฒนาจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏพระนคร.

อรเอม ตั้งกิจงามวงศ์. (2010). “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชายฝั่งทะเล: แนวทางการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อ่าวบางตะบูนอำเภอบ้านแหลมจังหวัดเพชรบุรี,” JARS. 7(1), 11-27.

อิสระ อินทร์ยา และเค็น เทย์เลอร์. (2558). “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาวภูไท,” วารสารรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4(2), 57-81.

อรวรรณ บุญสง. (2551). การพัฒนาจิตสํานึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาประกอบการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ ประสานมิตร.

Krathwohl, D.R., Bloom, B.S., and Masia, B.B. (1964).Taxonomy of educational objectives: Handbook II: Affective domain. New York : David McKay Co.

Lennon and Mathews, S. (1996). Cultural Landscape Management. Australia : Cultural Herritage Working Group Australian Apes Liaison Committee.

Pooksirinapa in Uncategorized. ภูมิทัศน์วัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2561, https://pooksirinapa. wordpress.com/author/pooksirinapa/.

Teerafah's Blog. ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape). สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2560, จาก, https://teerafah.wordpress.com/2013/10/28/.