ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต เรื่อง การจำลองความคิด ที่มีต่อทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 -
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต เรื่องการจำลองความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต เรื่อง การจำลองความคิด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 จำนวน 24 คน โดยวิธีการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดทักษะปฏิบัติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะปฏิบัติ เรื่อง การจำลองความคิด หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจำลองความคิด หลังจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสาธิต เรื่อง การจำลองความคิดอยู่ในระดับมาก ( = 4.13)
ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาการเขียนภาษาโปรแกรมในระดับอื่น ๆ ได้ เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับอุดมศึกษา เนื่องจากสามารถพัฒนาทักษะปฏิบัติในการเขียนขั้นตอนวิธีได้จริง และยังนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหากับวิชาอื่น ๆ ได้ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2545.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินคาและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จันทร์ฟอง รุ่งฤทธิ์ประภากร. (2552). ผลการสอนแบบสาธิตโดยใช้เทคนิคจิกซอว์(II) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการประดิษฐ์ดอกไม้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนคีรีวงศ์วัฒนา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
เฉลิม แก้วจันทร์. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับอนุปริญญา (ปวส.) ปีที่ 2 ที่เรียนโดยการสอนคิดแบบโยนิโสมนสิการกับการสอนแบบสาธิต. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ
ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน : องค์วามรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล ชุ่มสุวรรณ. (2547). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความคงทนและความชอบทางการเรียนจากบทเรียนวีดิทัศน์ ที่นำเสนอแบบบรรยายประกอบการสาธิตและแบบจำลองสถานการณ์ในสถานประกอบการในการสอนเรื่องเทคนิคการพิมพ์ซิลสกรีน. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
รุ่งนภา กลิ่นกลาง. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือร่วมกับทักษะปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน กรุงเทพ ฯ : สืบค้นเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2558 จากhttps://www.sea12.go.th/sea12/index.php/o-net
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการคิด.กรุงเทพ ฯ : ภาพพิมพ์.
อับดุลฮาลีม มามะ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของ เดวีส์ เรื่องการสร้างสรรค์งานมัลติมีเดีย ที่มีต่อทักษะปฏิบัติ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์.