การวิเคราะห์ความรู้สำคัญสำหรับการสร้างหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การสร้างและพัฒนาหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ที่จำเป็นในสร้างหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีจากเอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานรวม 33 คน ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ 10 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 18 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) คุณลักษณะของผู้เรียนที่มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คือ การมีเมตาคอกนิชั่น (Metacognition) การมีจิตวิทยาศาสตร์ และมีความสามารถด้านทักษะการคิด 2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอน หลักสูตรควรเป็นแบบไม่เน้นเนื้อหา เน้นกระบวนการคิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรเป็นการวัดประเมินกระบวนการคิดและทักษะปฏิบัติ 4) บทบาทครูและผู้บริหารในการจัดการศึกษาให้กับผู้เรียนที่มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ ครู : ต้องมีความแม่นยำในเนื้อหา มีความมั่นใจในการสอน เข้าใจธรรมชาตินักเรียน ออกแบบกิจกรรมที่ท้าทายและให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการคิด/การลงมือปฏิบัติ ผู้บริหาร:ต้องเป็นผู้บริหารเชิงวิชาการ ส่งเสริมการพัฒนาครูและสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมให้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). กรอบโครงสร้างการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ PISA 2009. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2539). การพัฒนาหลักสูตร : หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โชติกา วรรณบุรี. (ธันวาคม 2560-มกราคม 2561). “สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0,” วารสารการศึกษาไทย. 15(142) : 7-11.
พรชัย อินทร์ฉาย. (2549). รูปแบบการบริหารงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต. ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรพิไล เลิศวิชา และ อัครภูมิ จารุภากร. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
พูนสุข อุดม. (2556). การพัฒนาหลักสูตร. สงขลา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2538). “ทฤษฎีและการพัฒนาหลักสูตร,” ใน ประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาระบบการสอน = Instructional Systems Development หน่วยที่ 1-4. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ : แนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.
สถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้. (2550). การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL ชุดสำหรับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันฯ.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2552). การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลัก BBL ประถมศึกษาตอนปลาย (วัย 9-12 ปี). กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.