ผู้นำต้นแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะชุมชน

Main Article Content

นฤภร ไชยสุขทักษิณ
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
วันชัย ธรรมสัจการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบของภาวะผู้นำต้นแบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะชุมชน และผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะชุมชนโดยผู้นำต้นแบบ ดำเนินการศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ  ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้นำท้องถิ่น แกนนำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ 4 พื้นที่ที่เป็นพื้นที่ต้นแบบเรื่องการจัดการสุขภาวะ ได้แก่ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ ตำบลปริก อำเภอสะเดา และตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร  จังหวัดสงขลา  


ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำมีบทบาทที่สำคัญได้แก่ 1) บทบาทในการเป็นต้นแบบและผู้ริเริ่มกระบวนการ  2) บทบาทในการบริหารจัดการคน 3) บทบาทในการกระตุ้น4) บทบาทในการแสวงหาความร่วมมือและการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย และคุณลักษณะของผู้นำได้แก่  คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพของผู้นำ ซึ่งประกอบด้วย 1) ความอดทน เสียสละเพื่อส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทนหรือความมีจิตอาสา  2) มีความคิดเป็นระบบและเป็นผู้นำทางความคิดแบบเปลี่ยนแปลงในลักษณะการเริ่มต้น กระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ  3) การมีวิสัยทัศน์  4) การเป็นที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือ 5) การมีความสามารถในการเรียนรู้และใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้  และคุณลักษณะด้านทักษะของผู้นำ ได้แก่ 1) เข้าใจบริบทแลเข้าใจสภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของท้องถิ่น 2) มีความสามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กรในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน ข้อจำกัด และวางแผนปฏิบัติเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของท้องถิ่น 3) ประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่น 4) มีความเข้าใจและสามารถคาดการณ์ผลกระทบการดำเนินงานและจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ 140 หมู่ที่ 4 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000

วันชัย ธรรมสัจการ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 

References

จงกมล ประสมสุข.(2549). คุณลักษณะของผู้นำท้องถิ่นในความคิดเห็นของประชาชน : กรณีศึกษาเขตพื้นที่ อบต.เกาะลอย. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารงานท้องถิ่น).มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระอภินันท์ อภินนโท (เศรษฐกิจ).(2556). การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักเสขิยวัตร.สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2551). สุขภาวะที่สมบูรณ์. นิตยสารหมอชาวบ้าน. เล่มที่ 351, กรกฎาคม. กรุงเทพฯ.

ภาวิณี ไชยภาค.(2554). ไปเที่ยวบ้านเกลอ เขา ป่า นา เล. โครงการการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การจัดการสุขภาวะชุมชน ของตำบลท่าข้ามและขยายไปสู่เครือข่าย.สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ.

ภูฐิติพัศ ภัทรวุฒิโชติพงศ์.(2553). เทศบาลตำบลคำพรานกับการส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะผู้นำชุมชน.รายงานการศึกษาอิสระ: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เมธา บุญประวิตรและคณะ.(2552). ตัวชี้วัดสุขภาวะตามธรรมนูญสุขภาพชุมชน ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ฉบับที่ 1. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้.(2552). ธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552.

สุดาทิพย์ ภู่อัครสวัสดิ์และคณะ.(2559). ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดนครราชสีมา.วิทยานิพนธ์ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Pierce, J. L. & Newstrom, J. W. 2011. Leaders and the leadership process: readings, Selfassessments and applications. (6th ed.) New York, McGraw-Hill.