การพัฒนาแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินของ PISA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวบ่งชี้การรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบและหาเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินของ PISA สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย นักวิชาการสาขาวิชาคณิตศาสตร์, ศึกษานิเทศก์ และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปัตตานี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาแบบทดสอบ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์เชิงลึก
การสนทนากลุ่ม และแบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ ฯ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ มี 12 ตัวบ่งชี้ แบบทดสอบการรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้น มีจำนวน 29 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC) ตั้งแต่ 0.6 ถึง 1.00 ค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.15
ถึง 0.86 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.17 ถึง 0.69 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และมีคะแนนทีปกติตั้งแต่ T23 ถึง T75
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จารุนันท์ ขวัญแน่น. (2558). การพัฒนารูปแบบการประเมินการรู้คณิตศาสตร์. (ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ และสุพจน์ ไชยสังข์. (2557). รายงานการวิจัย เรื่อง การวิเคราะห์การสอบพิซ่าและโอเน็ตของสถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
บุญส่ง นิลแก้ว. (2542). การประเมินโครงการทางการศึกษา. เอกสารประกอบวิชา ภาควิชาประเมินผลและวิจัยการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). “ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ”, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 27(1), 145-163.
ภูวเดช วรโภชน์. (2559). การศึกษาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธวัชบุรีวิทยาคม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
วิลาวรรณ บุพเต. (2560). การศึกษาการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ : สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2557). ตัวอย่างข้อสอบคณิตศาสตร์ PISA 2012. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2557). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
_______. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw-Hill.