ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์และ ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

สุวลักษณ์ เกิดมณี
อารี สาริปา
สุพัฒน์ บุตรดี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ม.5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนแบบวงจรการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ


            กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช  จำนวน 2 ห้องเรียน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการหยิบฉลาก ซึ่งใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม


         เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้ เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก และแผนการจัดการเรียนรู้แบบวิธีการสอนปกติ  เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 12 ข้อ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบปรนัย  4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบ t-test


         ผลการวิจัย พบว่า


            1) ความเข้าใจมโนทัศน์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์  เรื่อง โครงสร้างของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            2) ความเข้าใจมโนทัศน์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์  เรื่อง โครงสร้างของพืชดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวงจรการเรียนรู้สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อารี สาริปา, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เลขที่ 1 หมู่ 4  ต.ท่างิ้ว  อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80280
Tel: 075-392-238 Fax: 075-392-239

สุพัฒน์ บุตรดี, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เลขที่ 1 หมู่ 4  ต.ท่างิ้ว  อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80280
Tel: 075-392-238 Fax: 075-392-239

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

เกรียงไกร อภัยวงศ์. (2548). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัยที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และมโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จันทร์พร พรหมมาศ. (2541). ผลการใช้วิธีวงจรการเรียนรู้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อสัมฤทธิ์ผลและพฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลักษณ์ ยิ้มดี. (2557).ผลของการเรียนการสอนโดยใช้ขั้นการเรียนรู้แบบอนุมานเบื้องต้นที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิด : ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติมา รอดสุด. (2550). ผลของการเรียนการสอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ที่มีต่อมโนทัศน์ชีววิทยาและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงอุปนัยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารารัตน์ นกขุนทอง. (2546). ผลการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดวงจรการเรียนรู้ที่มีผลต่อความเข้าใจมโนทัศน์และการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บรรจง อมรชีวิน. (2554). Thinking School สอนให้คิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เบญจมราชูทิศ.โรงเรียน. (2557). รายงานการประเมินตนเองและผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. โรงเรียนเบญจมราชูทิศ : นครศรีธรรมราช.

ประภัสจิต เตชะ. (2558). ผลการเรียนด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวอย่างมโนทัศน์ที่มีต่อความเข้าใจมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสบค่อม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะมาศ บุญประกอบ. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันที่มีต่อมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่และความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผกาทิพย์ ยันตะศิริ. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนวิทยาศาสตร์แบบพุทธะกับแบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ลัดดาวรรณ เจริญศักดิ์ศิริ. (2548, กรกฎาคม-กันยายน). ประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนตามสภาพจริงในวิชาวิทยาศาสตร์, วารสารวิชาการ. 8 : 15 - 24.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. (2554). รายงานผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2011 วิชาวิทยาศาสตร์ กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอน. วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี.

สำเร็จ นางสีคุณ. (2557). การใช้กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการให้เหตุผลแบบนิรนัยเชิงสมมติฐานผ่านสื่อการเรียนรู้ดิจิตอล เรื่องพันธุกรรม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 3. หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Lawson, A. E. 1995. Science Teaching and Developing of Thinking. Belmont: Wadsworth Publishing Company.

Novak, J.D, and Gowin, D.B. (1984). Learning how to learn. London : Cambridge University Press.

Peterson, Ray.,Treagust , David and Garnet, Patrick. (1986). Identification of Secondary Student is Misconception of Covalent Bonding and Structure Concept Using a Diagostic Instrument. Research in Science Education, 16.

Purser, R. K., and Renner, J. W. (1983). Results of Two Tenth-Grade Biology Teaching Procedures. Science Education 67: 85-98.