ศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและการคิดแก้ไขปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาผลการวิเคราะห์หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 2)ศึกษาการคิดแก้ไขปัญหาตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ 3)ศึกษาเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติกับการคิดแก้ไขปัญหาตามหลักโยนิโสมนสิการของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 9 คณะศึกษาเฉพาะชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 คณะละ 50 คน รวมทั้งหมด 450 คน ผลการศึกษาวิเคราะห์หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในรายวิชาบังคับ(มคอ.3) ที่ได้รับของแต่ละคณะ พบว่า คณะที่มีหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการครบทั้ง 10 แบบ มี6 คณะ ได้แก่ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (15 รายวิชา) คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี (10 รายวิชา)คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา(6 รายวิชา) คณะวารสารศาสตร์(13 รายวิชา) คณะศิลปกรรมศาสตร์(18 รายวิชา) คณะศิลปศาสตร์(21 รายวิชา)มีหลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการทั้ง 10 ข้อ ทั้งนี้มี คณะเศรษฐศาสตร์(6 รายวิชา) คณะนิติศาสตร์(30 รายวิชา) และคณะรัฐศาสตร์ (8 รายวิชา) มีหลักคิดแบบโยนิโสมนสิการไม่ครบทั้ง 10 ข้อ ผลการวิเคราะห์ความถี่และร้อยละของการตอบข้อคำถามวัดความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาตามหลักโยนิโสมนสิการในภาพรวม และแต่ละคณะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ฯ พบว่า ค่าร้อยละโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 56.25 ส่วนคณะที่มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาตามหลักโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับดี คือ คณะศิลปศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 81.25 รองลงมาคือคณะวารสารศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 78.13 คณะเศรษฐศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ71.88 และคณะที่มีความสามารถในการคิดแก้ไขปัญหาอยู่ในระดับต่ำ คือคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คิดเป็นร้อยละ 18.75 คณะนิติศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 15.63 และคณะที่มีค่าน้อยที่สุดคือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คิดเป็นร้อยละ 9.38
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 [ออนไลด์]. แหล่งที่มา http://www.mua.go.th /users/tqf- \ hed/news/FilesNews /FilesNews3/News328072552.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 /03/ 2557
จตุรพร ลิ้มมั่นจริง.(2539). จิตวิทยาวัยรุ่น.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2547). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ศยาม.
เบญจวรรณ ปรางประเสริฐ.(2553). การศึกษาผลการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา โดยใช้ขบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับการคิดแบบโยนิโส มนสิการ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต,สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วิจารณ์ พานิช. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42 เข้าถึงเมื่อวันที่11 /03/ 2555.
สุดารัตน์ ไชยเลิศ.(2553). การสร้างแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).