ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2

Main Article Content

ราวี ซามี

บทคัดย่อ

กระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการศึกษาในสายวิชาชีพ โดยมีหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นองค์กรขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 เป็นสถาบันอาชีวะที่มีจำนวนบุคลากร  นักศึกษาและงบประมาณมากที่สุดในบรรดาสถาบันอาชีวะภาคใต้  ดังนั้นการบริหารจัดการที่มีระสิทธิภาพจึงต้องใช้ยุทธศาสตร์ที่ดีเป็นแนวทางในการดำเนินงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2  และ  2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ   (1) กลุ่มผู้บริหารกลุ่มคณาจารย์ ผู้ปกครองและนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 จำนวน 294 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล (2) กลุ่มนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษาด้านอาชีวะ จำนวน 14 คนใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม โดยใช้ตาราง TOWS Matrix Method  ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่  การบริหารงานการศึกษาทั่วไป การบริหารงานด้านวิชาการ หลักสูตรการเรียนการสอน ที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา สถานที่ศึกษา/บรรยากาศในสถานศึกษา/ห้องเรียนการบริหารงบประมาณบุคลากรนักเรียนอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน และเทคโนโลยีที่ใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆยังไม่มีความพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน 2) แผนยุทธศาสตร์ภายใต้ชื่อยุทธศาสตร์ TAMPS ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีจุดมุ่งหมายให้บุคลากรและผู้เรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 สามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ย่อย 5 ด้าน ได้แก่ ( 1) T (Teaching Aid and Environmental) หมายถึง ยุทธศาสตร์ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอนและสภาพแวดล้อม (2)  A ( Administrative) หมายถึง ยุทธศาสตร์ด้านการบริหาร (3) M (Measurement and Evaluation) หมายถึง ยุทธศาสตร์ด้านการวัดและประเมินผล( 4) P ( Personnel) หมายถึง ยุทธศาสตร์ด้านบุคลากรและผู้เรียน และ (5) S (Syllabus) หมายถึง ยุทธศาสตร์ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน แผนยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ด้านที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นตัวแบบในการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและเป็นกลไกลในการขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงมหาดไทย. (2555) รายงานการศึกษาโอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อกระทรวงมหาดไทย. สานักนโยบายและแผน สานักปลัดกระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559. สานักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2555). สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จ่อปรับหลักสูตร ปวช.-ปวส.รองรับอาเซียน เน้นทักษะฝีมือพ่วงภาษา-ไอที พร้อมเปิด ป.ตรีอาชีวะปีการศึกษาหน้า. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์. แหล่งที่มา: www.thairath.co.th.วันที่สืบค้น 20 สิงหาคม 2555.

ประชาคมอาเซียน. (2555). การบริหารงานบุคคล เมื่อเข้าสู่ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ศูนย์ข้อมูลความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. แหล่งที่มา: http://www.thai-aec.com/161#ixzz24CUBkUxG.วันที่สืบค้น 20 สิงหาคม 2555.

Likert Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.