ผลสัมฤทธิ์และความตระหนักของนักท่องเที่ยวต่อชุดความรู้ เรื่อง สวนสัตว์สงขลา

Main Article Content

เฉลิมวุฒิ เกษตรสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างชุดความรู้ เรื่อง สวนสัตว์สงขลา และ 2)  เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์และความตระหนักของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในสวนสัตว์สงขลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในสวนสัตว์สงขลาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบความรู้ที่สร้างขึ้นเป็นชุดความรู้ และ 2) แบบวัดความตระหนัก ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการเลือกเนื้อหาเพื่อจัดทำชุดความรู้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ นักการศึกษา ผู้บริหารสวนสัตว์สงขลา และนักท่องเที่ยว เรียงตามลำดับความสำคัญได้ 5 เรื่อง คือ ช้าง นกกาบบัว แย้สงขลา น้ำตกสวนตูล และพืชอาหารสัตว์ และสร้างชุดความรู้โดยผ่านความเห็นชอบของผู้ทรงคุณวุฒิ

  2. ผลการสร้างแบบทดสอบความรู้เสนอให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนเพื่อตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จำนวน 50 ข้อ ประกอบด้วย ความจำ 17 ข้อ ความเข้าใจ 13 ข้อ การนำไปใช้ 10 ข้อ และการวิเคราะห์ 10 ข้อ พบว่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0

  3. ผลสัมฤทธิ์ของการใช้ชุดความรู้ทั้ง 5 เรื่องเท่ากับ 15.29, 14.67, 18.09, 7.84 และ 10.21 ตามลำดับ โดยมีนัยยะสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.01 ทั้ง 5 เรื่อง และผลการวัดความตระหนักพบว่าอยู่ในระดับ มาก ทั้ง 5 เรื่องเช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คนึงภรณ์ วงเวียน. 2554. การพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. 2552. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพ ฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ผอบ พวงน้อย และคณะ. 2558. การพัฒนาหลักสูตรและชุดสื่อการเรียนรู้เรื่อง ภาษาอังกฤษเทคนิคเพื่อการท่องเที่ยวเมืองไทย วิถีพุทธ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 25(1) 137-147.

พัชรี แก้วอาภรณ์. 2558. การสร้างชุดกิจกรรม เรื่อง พืชใกล้ตัวเราโดยใช้สวนพฤกษศาสตร์ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ยุพิน อ่อนแก้ว และ โชคชัย สุเวชวัฒนกูล . 2560. การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1) 1-15.

ราชกิจจานุเบกษา. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. เล่ม 116 ตอนที่ 24 ก. 19 สิงหาคม 2542.

ราชกิจจานุเบกษา. 2556. การขึ้นทะเบียนที่ดินของรัฐเพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ประโยชน์ในราชการในท้องที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. ประกาศกระทรวงมหาดไทย. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 34 ง. 14 มีนาคม 2556.

สิริมา พงศ์ปลื้มปิติชัย. 2556. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการเพื่อยกระดับความพึงพอใจของเยาวชนในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาโครงการนำนักเรียนเข้าเรียนรู้ในสวนสัตว์สงขลา. เอกสารวิชาการ. กรุงเทพ ฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

ศุทรา สุนันทกรญ์. 2555. ความตระหนักต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนันทนาการฐานป่าไม้ของผู้มาเยือนน้ำตกโตนงาช้าง จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตร์มหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

องค์การสวนสัตว์. 2559. แผนแม่บทด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance : CG) และด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR). แผนแม่บท. กรุงเทพ ฯ : องค์การสวนสัตว์.

อภิชน ฝ่ายรีย์. 2560. การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง การเมืองการปกครอง กลุ่มสาระการพัฒนาสังคม สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมรสิริ ดวงดี. 2555. ความตระหนักของนักท่องเที่ยวต่อการอนุรักษ์หิ่งห้อยในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารวิทยบริการ, 23(3) 31-42.

อิทธิพล โกมิล. 2553. รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษา บ้านวังน้ำมอก จังหวัดหนองคาย. รายงานวิจัย. กรุงเทพ ฯ : กระทรวงวัฒนธรรม.

Malouff, J., Rooke, S., Schutte, N., Foster, R. and Bhullar, N. (2008). Method of Motivational Teaching. School of Psychology. Australia : University of New England.