การพัฒนารูปแบบการสอน BHC เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พนิดา ยอดราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน BHC  เพื่อพัฒนารูปแบบการสอน BHC  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอน BHC  และเพื่อตรวจสอบรูปแบบการสอน BHC ดังนี้ หาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน BHC ตามเกณฑ์  เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์พร้อมทั้งทักษะการคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้รูปแบบ การสอน BHC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาล 3/1  ภาคเรียนที่  2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนเทศบาล ๑ (เอ็งเสียงสามัคคี) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความต้องการจำเป็น การสนทนากลุ่ม รูปแบบการสอน BHC ประกอบด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ 30 กิจกรรม  ใช้เวลาเรียน  10 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 40 นาที  แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดรูปแบบการสอน BHC  แบบวัดความสอดคล้องรูปแบบการสอน BHC แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และแบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยศึกษาความต้องการจำเป็นพื้นฐานจากผู้ปกครอง นักเรียน และครู ทดสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์  ดำเนินการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอน BHC ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่อิสระ การหาค่าความตรงตามสูตรของ IOC การหาค่าความเที่ยงตามสูตรอัลฟา และ KR – 20 การหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกตามสูตร (p) และ (r) การหาคุณภาพนวัตกรรม ได้แก่ การหาค่า /


                 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้


  1. ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน BHC โดยภาพรวมพบว่า ความต้องการจำเป็นพื้นฐานทั้ง 3 กลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด คือค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 และผลจากการสนทนากลุ่ม ทั้งสามกลุ่มมีความคิดเห็นว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในระดับต่ำ

  2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอน BHC ปรากฏว่ารูปแบบการสอน BHC เป็นแนวทางที่สร้างขึ้นจากความคิด ทฤษฎี หลักการของทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ และบรูเนอร์ แนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน ไฮสโคป และคอนสตรัคติวิสต์ที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งนี้เพื่อให้การใช้รูปแบบดังกล่าวเกิดประโยชน์ จึงมีองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) ระดมสมอง 2) ประดิษฐ์ผลงาน 3) สรุป นำผลงานจัดแสดง และการพิจารณาความสอดคล้องของรูปแบบการสอน BHC ได้ค่า IOC เท่ากับ 0.88

  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน BHC ทั้ง 3 กลุ่มได้ค่าประสิทธิภาพ  /  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ทั้ง 3 กลุ่ม 

  4. ผลการตรวจสอบรูปแบบการสอน BHC  สรุปได้ดังนี้

                      4.1   ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน BHC ได้ค่าประสิทธิภาพ 81.86/84.25


                     4.2   ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน BHC สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


                        4.3        ทักษะการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอน BHC สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภเนตร ธรรมบวร. (2542). ประสบการณ์การศึกษาปฐมวัย โปรแกรมปฐมวัย ไฮ/สโคป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ที พี พริ้นท์ จำกัด.

นัยนา อิสสระวิทย์. (2549). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย : แนวคิดและการปฏิบัติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎ).

เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2556). ชีวิตกับการศึกษา. สืบค้นจาก http : //pnru.ac.th/30064ba90c82269ed73053fe106afb1-1.pdf.

ภรณี คุรุรัตนะ และวรนาท รักสกุลไทย. (2542). กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาปฐมวัย ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (3-5 ปี). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สมใจ ชูหนู. (2550). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนวัดควนอินทร์นิมิต จังหวัดพัทลุง. (สารนิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยทักษิณ).

อมลวรรณ วีรธรรมโม. (2549). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. สงขลา : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.