การพัฒนาชุดการเรียนรู้นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลสาวชะโงก สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและประสบการณ์อภิปัญญาบูรณาการกับ การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและรวบรวมนวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) พัฒนาชุดการเรียนรู้นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วง ผู้นำชุมชน ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์ ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยปรากฎดังนี้
1) นวัตกรรมและภูมิปัญญาที่ควรสืบสานสู่การจัดการเรียนรู้ ได้แก่องค์ความรู้เกี่ยวกับมะม่วง ซึ่งประกอบด้วย สายพันธุ์ การปลูก การเก็บเกี่ยว และการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงของตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
2) ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้และนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ชุดการเรียนรู้ มีชื่อว่า “มะม่วงดีที่สาวชะโงก” มีจำนวนชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุด ได้แก่ สายพันธุ์มะม่วง มาปลูกมะม่วงกันเถอะ และมะม่วงแปรรูป รวมเวลาในการจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 27 ชั่วโมง ผลการตรวจสอบคุณภาพชุดการเรียนรู้ ด้านความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมระดับมากที่สุดโดยผู้เชี่ยวชาญทุกคนมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน
3) ผลที่เกิดกับผู้เรียนหลังจากการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้ ปรากฏดังนี้ 3.1) คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3.2) คุณลักษณะด้านทักษะปฏิบัติ โดยพิจารณาทักษะการขยายพันธุ์มะม่วง และการออกแบบผลิตภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 3.3) คุณลักษณะด้านจิตพิสัย พิจารณาจากความรู้สึกภาคภูมิใจ ความรักความผูกพันกับท้องถิ่นของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
4) ภาคีเครือข่ายมีความเห็นว่าชุดการเรียนรู้ มีคุณค่าต่อนักเรียน ต่อโรงเรียน และต่อชุมชน โดยนักเรียนได้รับความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน จากการลงมือปฏิบัติจริง ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของมะม่วงซึ่งเป็นผลไม้ที่มีชื่อเสียงของท้องถิ่นร่วมทั้งสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์และพัฒนาคุณภาพของมะม่วงให้คงอยู่ต่อไป โรงเรียนควรนำชุดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอย่างหลากหลายวิธีการ เพื่อสืบสานองค์ความรู้ นวัตกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลสาวชะโงกให้คงอยู่ต่อไป
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
นิรมล ศตวุฒิ. (2543). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2533). การพัฒนาหลักสูตรและการสอนมิติใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : รุ่งเรืองธรรม
ศุภลักษณ์ สินธนา. (2545). การศึกษาการคิดอภิมานโดยใช้แบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การทดสอบและวัดผลการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาพร ดียิ่ง. (2550). การสำรวจพันธุ์และแหล่งปลูกมะม่วงในจังหวัดฉะเชิงเทรา. เอกสารอัดสำเนา
อวยพร เรืองศรี. (2545). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอภิมานกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Anderson, L. W. and Krathwohl, D. R., et al (Eds.) (2001) A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives. MA : Allyn & Bacon. Boston, (Pearson Education Group)
Forgarty, R. (1994). Teach for Metacognitive Reflection. Palatine, IL : IRL/SkyLight Training and Publishing,Inc.