ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและ การทำงานของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียนที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้วิจัยเลือกโรงเรียนแบบเจาะจงโดยเลือกโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม (พ.ศ.2554-2558) ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษาได้โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา 1 โรงเรียน และโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี 1 โรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จังหวัดละ 8 คน และนำข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์มาเสนอในการสนทนากลุ่ม จังหวัดละ 5 คน เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยและการทำงานของปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของโรงเรียน โดยพิจารณาจากตัวบ่งชี้พื้นฐานตัวที่ 1 - 5 ตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) คือ ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความใฝ่รู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นทำเป็น และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ได้แก่
- ปัจจัยด้านผู้บริหาร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีนโยบายพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาอาคารสถานที่ สนับสนุนสื่อที่ทันสมัย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้บริหาร ครู และนักเรียน ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาไปสู่ผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนมีวิสัยกว้างไกล มีประสบการณ์ มุ่งมั่น ยึดหลักการบริหารแบบกัลยาณมิตร บริหารงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และชุมชนสัมพันธ์ ทำให้ประสบความสำเร็จ
- ปัจจัยด้านครูผู้สอน ครูมีประสบการณ์การสอน สอนตรงวิชาเอก จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้สื่อที่ทันสมัยประกอบการสอน สร้างนิสัยให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง พัฒนากระบวนการคิดของนักเรียนเพื่อให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น รวมถึงครูมีจิตวิญญาญแห่งความเป็นครู ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรม จริยธรรม
- ปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในโรงเรียน วิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนมีชีวิตชีวา เรียนสนุก เอื้อต่อการทำให้นักเรียนเกิดการใฝ่รู้ กล้าคิด กล้าแสดงออก
ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง การบริหารแบบมีส่วนร่วม การเอาใจใส่ดูแลของผู้ปกครอง การร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้น ส่งผลให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์
References
ชื่นจิตต์ วงษ์พนัส และคณะ. (2556). “ความพร้อมการถ่ายโอนการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”. วารสารวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราช ภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ และคณะ. (2554). การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
นงเยาว์ อุทุมพร. (2556). การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
เรวดี กระโหมวงศ์ สุจิตรา จรจิตร พลรพี ทุมมาพันธ์ และจิราภรณ์ เรืองยิ่ง. (2558). การกระจายอำนาจทางการศึกษาให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคใต้. สงขลา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สธญ ภู่คง. (2549). การวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). ค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2558, จาก : http://www.onetresult.niets.or.th
โสภิณ ม่วงทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558). ผลการประเมินคุณภาพภายนอก. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2558, จาก: http://www.onesqa.or.th
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายส่งเสริมการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค
Colaizzi P. Psychological research as the Phenomenologist views it. In Existential – Phenomenological Alternatives for Psychology (Valle R. & King M. eds), Oxford University Press, London 1978.