การศึกษาเพศวิถีของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงเรียน

Main Article Content

มุกดา ไชยมโน
ฉัตรวรัญช์ องคสิงห

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อรูปของการตั้งครรภ์วัยรุ่น ศึกษาเพศวิถีของวัยรุ่นในการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และศึกษาเพศวิถีศึกษา  ในการหาแนวทางที่สมควรในการดำเนินการเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในโรงเรียน  โดยเก็บข้อมูลจาก  วัยรุ่นตั้งครรภ์  วัยรุ่นชาย  วัยรุ่นหญิง  พ่อแม่หรือผู้ปกครองของวัยรุ่น และครูในสถานศึกษา  จำนวน 68 คน  การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)  


ผลการวิจัยพบว่า การก่อรูปการตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นผลมากจาก บริบททางสังคมและวัฒนธรรม สื่อสังคมออนไลน์ ช่องว่างในทัศนคติเรื่องเพศระหว่างวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ สัมพันธภาพภายในครอบครัว สภาพเศรษฐกิจ ทัศนะของวัยรุ่นเกี่ยวกับความรัก การสร้างสัมพันธภาพระหว่างคนรักของวัยรุ่น  การไม่ตระหนักถึงการคุมกำเนิด ซึ่งนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นจนเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมา  เพศวิถีมีความข้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในโรงเรียนคือ ขาดการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสม อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนที่มีประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์  สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ และความลักลั่นของการเรียนการสอนเพศวิถีศึกษา


ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือ  การเสริมสร้างบทบาทของสถาบันครอบครัวในการเรียนรู้เพศศึกษา  การเรียนการสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียน  ผลักดันพ่อวัยรุ่นให้มีส่วนรับผิดชอบปัญหา การสร้างกระแสความเท่าเทียมกันในสังคม การปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคม การกรองข่าวของสื่ออย่างเป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มุกดา ไชยมโน, มหาวิทยาลัยรังสิต

ดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต

ฉัตรวรัญช์ องคสิงห, มหาวิทยาลัยรังสิต

ผศ.ดร.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต : ประธานที่ปรึกษา

References

เกศินี สราญฤทธิชัย. (2550). การขัดเกลาทางสังคมในเรื่องเพศและสุขภาพทางเพศของวัยรุ่น: กรณีศึกษาในครอบครัวชนบทอีสาน (Unpublished Master’s thesis). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คณะกรรมการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ. (2558). รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนา อนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ.

คณะอนุกรรมาธิการด้านเด็กและเยาวชนวุฒิสภา. (2556). “ปัญหาเด็ก เยาวชน : ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคมและปัญหาชาติ?”. รายงานการประชุมปัญหาเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา.

ชลลดา ศรเดช . (2550). การเห็นคุณค่าพรหมจารีของวัยรุ่นหญิง (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ. (2556). แม่วัยใส : สถานการณ์และบริบทสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โครงการสำรวจและศึกษา เพื่อเฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม รอบที่ 1, วิทยาลัยประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรภาตา อรุณรัตน์, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์ และสุชาดา รัชชุกุล. (2552). กลวิธีในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นหญิงตามประสบการณ์ของวัยรุ่นชาย. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ยุวนาถ ทิฐิคำฉาย. (2552). ระบบชายเป็นใหญ่กับประสบการณ์ในการทำแท้งหลากวิธีของวัยรุ่นหญิง(Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

วิทิตา สุขทั่วญาติ. (2551). บทเรียนที่ได้จากการสะท้อนคิดของนักเรียนหญิงที่ออกกลางคันเนื่องจากการ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (Unpublished Independent study). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส). ขอนแก่น: ศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและฝึกอบรม ด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง การเปิดรับสื่อลามกทางอินเทอร์เน็ตกับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2555). พฤติกรรม เสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ ในวัยรุ่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. Factsheet ฉบับที่ 1.

Lowdermilk, D. L. & Perry, S. E.. (2004). Maternity & women’s health care(8th ed). St. Louis, MO: Mosby.

Olsson, P., & Wijewardena, K.. (2010). Unmarried woman’s decisions on pregnancy Termination: Qualitative interviews in Colombo, Sri Lanka.Sexual & Reproductive Healthcare; 135-141.

Terry, P. J. (2001). School-Based Sex Education. Retrieved from http://www.eric.ac.th.

UNFPA . (2013). Minutes of the Selected Stakeholder Consultation on the Issue of Adolescent Pregnancy in Thailand. 11th June.