การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิจารณญาณเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม

Main Article Content

วรัญญา แสงวิเชียร
หัสชัย สิทธิรักษ์
จิต นวนแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง ก่อน และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนสตรีทุ่งสง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 3 ชนิด คือ 1) แผนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ  หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าที (Independent t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 


1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


2. ความสามารถด้านการคิดวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถาม สูงกว่าก่อนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วรัญญา แสงวิเชียร, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

นักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิทยาศาสตร์

หัสชัย สิทธิรักษ์, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

ประธานกรรมการที่ปรึกษา  ผศ.ดร. หัสชัย สิทธิรักษ์  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

จิต นวนแก้ว, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

กรรมการที่ปรึกษา ดร. จิต  นวนแก้ว  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553 ก). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์ พับลิสซิ่ง.

นภเนตร ธรรมบวร. (2549). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

พิมพร ไตรยานุภาพ. (2552). การจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบใช้เทคนิคคำถามเพื่อพัฒนา ทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งนก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม . (2550 ). การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสมอง สำหรับครูมืออาชีพ . คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ .

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2550). สื่อเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ (2552). พัฒนาทักษะการคิด...พิชิตการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง

สุภาภรณ์ ชอบประดิษฐ์. (2553). ผลการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นเทคนิคการเรียนแบบร่วมมือที่ มีต่อครุศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ.(2551). รายงานโครงการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกันคุณภาพผู้เรียนปีการศึกษา 2550. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2558, จาก http://bet.obec.go.th

สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ. (2551). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ปีการศึกษา 2555-2556. กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบทางการศึกษา

Ennis, R.H. (1985). “Alogical basic for Measuring Critical Thinking Skills,” Educational Leadership. 43 (2) : 44 - 46.

Musheno, B. V. ; Lawson, A. E.(1999). “Effects of Learning Cycle and Traditional Text on Comprehension of Science Concepts by Students at Differing Reasoning Levels”,Journal of Research in Science Teaching. 1 (January 1999), 23-37.

Pollack, P.H. (1987). Foresting Critical Thinking. A Study of the Effects of Classroom ClimateIn a Gifted Program. Dissertation AbstractsInternational, 49 (9), April.Sternberg, Robert T. 1987. Intelligence