ผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์
อารี สาริปา
สุพัฒน์ บุตรดี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ                                                                                                        


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบทักษะกระบวนการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ระหว่างก่อนเรียน (การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนปกติ) กับหลังเรียน  โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้  5 ขั้นตอน โดยเลือกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย  และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และวิธีสอนปกติอย่างละ จำนวน  5 แผน  พร้อมยังมีแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 39 ข้อ และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 ข้อ และทำการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติแบบ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เมื่อเทียบกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนปกติ

  2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่มีความเชื่อมั่นร้อยละ 95  หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน เมื่อเทียบกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

เพ็ญพักตร์ ช่วยพันธ์

มหาบัณฑิต หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน  มหาวิทยาลัย  ราชภัฏนครศรีธรรมราช

อารี สาริปา

อาจารย์ ดร.  สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

สุพัฒน์ บุตรดี

อาจารย์ ดร.  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช