การรับรู้และพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการรับรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ 2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ และ3) รวบรวมแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา จำนวน 130 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามหน่วยงาน และสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) การรับรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ จุดประสงค์การใช้เพื่อการปฏิบัติงาน ประเภทการใช้เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สารสนเทศที่ใช้เป็นเว็บไซต์การให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่ในระดับมากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีช่วงเวลาที่ใช้ตามประเภทของอุปกรณ์เป็นโทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่ใช้ในวันจันทร์- ศุกร์ เวลา 17.00 - 21.00 น. และในวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 17.00 - 21.00 น. ใช้เป็นเว็บไซต์การให้บริการค้นหาข้อมูล ในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 13.00 - 17.00 น. สถานที่ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นที่ทำงานมากที่สุด และ 3) ข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ ควรสร้าง พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างทั่วถึง และหลากหลาย เป็นปัจจุบันและทันสมัย รวดเร็วประหยัดเวลา สามารถสืบค้นได้ง่าย เพื่อลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีการจัดทำคู่มือระบบการจัดเก็บรวมรวมข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เปิดโอกาสหรือมีช่องทางให้ผู้ใช้งานระบบได้แสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการใช้งาน หรือข้อขัดข้องต่างๆ ในการใช้งานได้อย่างอิสระ และหลายช่องทาง
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์