การพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน ของนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาเอกสารประกอบการสอนในรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน ของนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่น 2558 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยชุมชนพังงา มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการสอนรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผนสำหรับนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 90/90 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน ก่อนเรียน – หลังเรียน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชนพังงา ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอนการสอน ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนกำหนดให้ประชากร คือ นักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่น 2558 จำนวน 39 ราย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น (อำเภอคุระบุรี) จำนวน 12 ราย ซึ่งได้มาจากการใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive - Sampling) โดยผู้วิจัยเป็นผู้สอนเอง เครื่องมือ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาทั้งสิ้น 60 ชั่วโมง เอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 บท แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน จำนวน 60 ข้อ แบบฝึกท้ายหน่วยการสอนจำนวน 5 บท และแบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ก่อนเรียน – หลังเรียนโดยการทดสอบ (t-test) ผลการศึกษา พบว่า
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.83/91.25 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 90/90
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ใช้เอกสารประกอบการสอนหลังเรียน สูงกว่า - ก่อนเรียน อย่างมีนัยทางสถิติเท่ากับ .01
3. นักศึกษามีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เอกสารประกอบการสอนในรายวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน ที่ค่าเฉลี่ย 4.28 คะแนน ระดับคุณภาพในระดับมาก ซึ่งผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ไว้ที่ค่าเฉลี่ย 4.00 คะแนน โดยข้อที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด คือ เรื่องความเหมาะสมของรูปเล่ม รองลงมาคือเนื้อหาวิชามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และการนำเสนออย่างต่อเนื่องมีลำดับขั้น ตามลำดับ
Article Details
ในกรณีที่กองบรรณาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นผู้ตรวจบทความวิจัย หรือ บทความทางวิชาการมีความเห็นว่าควรแก้ไขความบกพร่อง ทางกองบรรณาธิการจะส่งต้นฉบับให้ ผู้เขียนพิจารณาจัดการแก้ไขให้เหมาะสมก่อนที่จะลงพิมพ์ ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะยึดถือความคิด เห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเกณฑ์