การประเมินการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine
Keywords:
โปรแกรมการ์ฮู้ด, การประเมินการเรียนการสอน, เครือข่ายการสอนทางไกลเทเลเมดิซีนAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1.) เพื่อประเมินการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine และ (2.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ที่มีต่อการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine ดำเนินการโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 44 คน จากศูนย์แพทย์ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, โรงพยาบาลพิจิตร และโรงพยาบาลแพร่ ที่มีการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine ปีการศึกษา 2560 ในหัวข้อ “Rehabilitation in arthritis patients” เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองและวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า
(1.) การประเมินการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicine โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.44) และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาของ Kahoot Program, ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน, ด้านการแสดงผล Kahoot Program, ด้านการประเมินการใช้ Kahoot Program และด้านภาษา พบว่าการประเมินการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
(2.) ความคิดเห็นของนิสิตแพทย์ที่มีต่อการใช้ Kahoot Program ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายการสอนทางไกล Telemedicineโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.35) และเมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ ด้านรูปแบบ ด้านความพึงพอใจ พบว่านิสิตแพทย์มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่านิสิตแพทย์มีความคิดเห็นในระดับมาก
References
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ และ ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์. (2555). การประเมินคุณภาพการเรียนการสอนชุดวิชาสัมมนาประเด็นทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มสธ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์พริ้น.
มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2555). หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555. พิษณุโลก: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริขวัญ วงค์ชุมพันธ์. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิซึ่ม (Constructionism) ด้วยกล่องสมองกล IPST-MicroBOX เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 28 มีนาคม 2557.
สราวุธ สุขสุผิว, ชาลินี มินขุนทด, พันทิพา อมรฤทธิ์ และศุทธินี ศรีสวัสดิ์. (2559). ประสิทธิผลของการเรียนด้วยสื่อการสอนอัจฉริยะแบบส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในนักศึกษาสาขาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 10(2), 1-17.
สุชาติ ทั่งสถิรสิมา และ สถาพร ขันโต. (2555). การใช้เกมในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2), 168-175.
Cutri, R. & et al. (2016). Kahoot, A New and Cheap Way to Get Classroom-Response Instead of Using Clickers. Asee’s 123rd Annual Conference & Exposition at New Orleans. 26-29 June 2016.
Dellos, R. (2015). Kahoot! A digital game resource for learning. International Journal of Instructional Technology and Distance Learning, 12(4), 49-52.
Hussein, B. A. (2015). A blended learning approach to teaching project management: A model for active Participation and involvement: Insights from Norway. Education Sciences, 5(2), 104-129.
Ismail, M. & Mohammad, J. A. (2017). Kahoot: A Promising Tool for Formative Assessment in Medical Education. Education in Medicine Journal, 9(2), 19-26.
Wang, A. I. (2015). The wear out effect of a game-based student response system. Computers & Education, 82(3), 217-227.
Zarzycka-Piskorz, E. (2016). Kahoot it or not? Can games be motivating in learning grammar?. Teaching English with Technology, 16(3), 17-36.