การศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ณิรดา เวชญาลักษณ์

Keywords:

แหล่งเรียนรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยเลือกพื้นที่การวิจัยแบบเจาะจง จำนวน 10 ตำบล ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน ผลการวิจัยพบว่า

           1. กลุ่มชุมชนที่มีแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุดคือ กลุ่มชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท จำนวน 32 แห่ง รองลงมาคือ กลุ่มชุมชนชนบท จำนวน 25 แห่ง และกลุ่มชุมชนเมือง จำนวน 17 แห่ง รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 74 แห่ง

          2. แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรมีการร่วมมือกันระหว่างชุมชน สถานศึกษา และองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน สถานศึกษาและชุมชนควรร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตรและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนหรือออกแบบการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานศึกษาควรจัดกิจกรรมเรียนรู้โดยแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบ สำรวจ สืบค้น รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอแลกเปลี่ยน ควรจัดตั้งคณะกรรมการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ในชุมชนให้เป็นที่รู้จักแก่บุคคลภายนอก

References

โกวิท หมวกไธสง. (2551). การประเมินโครงการเกษตรเพื่อชีวิตสู่เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสวายสอ. ผลงานวิชาการเพื่อขอวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ. สุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1.

ปฐวี มณีวงศ์. (2558). การบริหารแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (สาขาบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ปรียาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

ปัญญา เทพสิงห์ และเก็ตถวา บุญปราการ. (2559). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในวัฒนธรรมชายแดนไทย-มาเลเซีย: กรณีศึกษาชุมชนโล๊ะจูด จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 19-38.

พัชราวลัย มีทรัพย์, ธนสาร เพ็งพุ่ม, นงลักษณ์ ใจฉลาด, ธิปไตย สุนทร. (2559). การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารครุพิบูล, 3(2), 62-75.

มาลีรัฐ สมภาร. (2550). การพัฒนาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ อำเภอภูม่านจังหวัดขอนแก่นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. (สาขาวิชาการประถมศึกษา) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วัลยา ทองงาม. (2555). การใช้และบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการนักเรียนของโรงเรียนอนุบาลวีรยา อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. (สาขาบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิวิธ วงศ์ทิพย์. (2556). การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น. สถาบันวิจัยวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สันติ บุญภิรมย์. (2547). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยส์.

สํานักงานปฏิรูปการศึกษา.(2545). การพัฒนาตัวบ่งชี้สําหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการ เขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

Downloads

Published

2018-04-10