การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน “คน น้ำ ป่า เขาปู่” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ

Authors

Keywords:

ศูนย์การเรียนรู้มีชีวิต, ศูนย์การเรียนรู้เสมือน, จิตสำนึกรักษ์น้ำ, การพัฒนาสิ่งแวดล้อม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน “คน น้ำ ป่า เขาปู่” เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ แบ่งการวิจัยเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ได้แก่ 1) ศูนย์การเรียนรู้มีชีวิต ใช้กระบวนการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 คนจากนั้นใช้กระบวนการสนทนากลุ่มประเมินศูนย์การเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และ 2)ศูนย์การเรียนรู้เสมือน ใช้กระบวนการพัฒนาสื่อเสมือนจริง (Augmented Reality) ตามหลักการ ADDIE Model และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ผลการใช้ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนโดยศูนย์การเรียนรู้มีชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียน จำนวน 25 คน และศูนย์การเรียนรู้เสมือน เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักเรียน จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)รูปแบบศูนย์การเรียนรู้มีชีวิตมี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ปรัชญา (2) วิสัยทัศน์ (3) ปณิธาน (4) วัตถุประสงค์ (5) บทบาทหน้าที่ (6) โครงสร้างการดำเนินงาน (7) เนื้อหา/กิจกรรม และ (8)ภาคีเครือข่าย และศูนย์การเรียนรู้มีชีวิตเป็นกลไกในการเสริมสร้างจิตสำนึกรักษ์น้ำ และศูนย์การเรียนรู้เสมือนที่มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก  2) ผลการใช้ศูนย์การเรียนรู้มีชีวิต นักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์น้ำอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ศูนย์การเรียนรู้เสมือน นักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์น้ำอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3)ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่านักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์น้ำ 

Author Biographies

ชัชวาล ชุมรักษา, Thaksin University

อาจารย์ ดร. ประจำสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกาาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คุณอานันท์ นิรมล, Thaksin University

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยลัยทักษิณ

Downloads

Published

2017-12-04