การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่ประชาคมสังคมและ วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39

Authors

  • สุริยา จันทิมา
  • อดุลย์ วังศรีคูณ
  • วารีรัตน์ แก้วอุไร

Keywords:

คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน, นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

Abstract

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์สู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 โดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2. สร้าง ตรวจสอบและทดลองรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 3. ประเมินรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีขั้นตอนการวิจัยคือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน สร้างแบบสอบถามและนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบ  ขั้นตอนที่ 2 การสร้าง ตรวจสอบและทดลองรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างเป็นรูปแบบและตรวจสอบความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน แล้วนำรูปแบบที่ได้ไปทดลอง ขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยการสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 7 คน ถึงความเป็นไปได้ของการนำรูปแบบไปใช้

ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ประกอบด้วย 6 คุณลักษณะ ได้แก่ 1.1 ด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ 1.2 ด้านการมีวินัย 1.3 ด้านความขยันมุ่งมั่นในการทำงาน 1.4 ด้านการมีจิตสาธารณะ 1.5 ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 1.6 ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 2. รูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์มี 6 องค์ประกอบ คือ 2.1 ความเป็นมาของรูปแบบ 2.2 แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน 2.3 หลักการของรูปแบบ 2.4 วัตถุประสงค์ 2.5 กระบวนการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีกระบวนการ คือ 2.5.1 การสร้างความตระหนัก 2.5.2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะ 2.5.3 การนำไปประยุกต์ใช้ และ 2.6 การประเมินผล  ผลการพิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ผลการทดลองนำร่อง พบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้ ผลการทดลองใช้ พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นช่วยทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับมาก ที่สุด 3. ผลการประเมินรูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  มีความคิดเห็นว่า รูปแบบการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสู่ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนไปใช้ มีอรรถประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน 

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

คณะทำงานจัดทำข้อมูลเพื่อเตรียมความพร้อมข้าราชการรัฐสภาสู่ประชาคมอาเซียน. (2555). การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์. (2550). รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2554). ผู้นำเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ: กระบวนทัศน์ใหม่และผู้นำใหม่ทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันเพ็ญ เนตรประไพ. (2553). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม. (2551). การสงเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในประเทศและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สมใจ กงเติม. (2555). การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สมใจ ธีรทิฐ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะพลเมืองอาเซียนที่พึงประสงค์. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง ภาพการศึกษาไทยในอนาคต 10-20 ปี. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สิทธิศักดิ์ เทศประสิทธิ์. (2559). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนสู่ประชาคมอาเซียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อัมพร เรืองศรี. (2554). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม) มหาวิทยาลัยบูรพา.

Brown, R. (1968). Social Psychology. New York, NY: The Free.

Haan, N., Langer, J., & Kohlberg, L. (1976). Family patterns of moral reading.Child Development, 47(4), 1204-1206.

Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building. Educational Research Methodology and Measurement :An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Piaget, J. (1962). The moral judgement of the child. 2rd ed. New York, NY: Collier.

Willer, D. (1986). Scientific Sociology: Theory and Method. New Jersey, NJ: Prentice Hall.

Downloads

Published

2018-04-10