การศึกษาหน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นในแนวไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา

Authors

  • สุจิตรา เลิศเสม บุณยานันต์

Keywords:

หน่วยสร้างกรรมวาจก, ภาษาญี่ปุ่น, ไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หน้าที่และวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นใน กรอบแนวคิดของไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษา โดยกีฟอน (Givón, 2001) ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมวาจกต้นแบบ ได้แก่ 1) การสลับใช้กับโครงสร้างกรรตุวาจก 2) การลดบทบาทผู้กระทำในกรรตุวาจก       3) การเลื่อนระดับผู้ที่ไม่ใช่ผู้กระทำในกรรตุวาจกเป็นประธาน และ 4) การกำกับกริยาหลักด้วยตัวบ่ง      กรรมวาจก ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นหน่วยสร้างประโยค จำนวน 32,347 ประโยค จากงานเขียนภาษาญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาเป็นเชิงวิชาการและไม่เป็นเชิงวิชาการ 10 ตัวบท โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบตามสะดวก ผลการวิจัยพบว่า

1. หน่วยสร้างกรรมวาจกมีหน้าที่เชิงวัจนปฏิบัติศาสตร์คือการลดบทบาทผู้กระทำ กรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.54) ลดบทบาทโดยไม่ปรากฏผู้กระทำ นอกนั้นผู้กระทำจะปรากฏเป็น   กรรมอ้อมที่กำกับด้วยตัวบ่งการกผู้กระทำ -ni หรือตัวบ่งการกอื่น

2. ในงานเขียนภาษาญี่ปุ่นปรากฏใช้หน่วยสร้างกรรมวาจกในอัตราร้อยละ 8.63 จำแนกตามคุณสมบัติการเป็นกรรมวาจกต้นแบบและการปรากฏใช้ทั่วไปได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กรรมวาจกต้นแบบ (ร้อยละ 91.34) และกรรมวาจกที่ลดความเป็นต้นแบบ (ร้อยละ 8.66)

3. หน่วยสร้างกรรมวาจกในภาษาญี่ปุ่นแบ่งตามโครงสร้างและวากยสัมพันธ์เป็น 5 ชนิด กล่าวคือ หน่วยสร้างกรรมวาจกต้นแบบ 1 ชนิด คือ กรรมวาจกเลื่อนกรรม -(r)are และหน่วยสร้างกรรมวาจกที่ลดความเป็นต้นแบบ 4 ชนิด  ได้แก่ กรรมวาจกเลื่อนกรรม -temora(w) กรรมวาจกเลื่อนกรรมผู้รับโดยอ้อม      -(r)are กรรมวาจกเลื่อนกรรมกริยาแปลงเป็นสภาวการณ์ -tea(r) และกรรมวาจกไม่เลื่อนประธานไร้ตัวตน

4. เมื่อพิจารณาแต่ละบริบทพบว่า ในงานเขียนที่มีเนื้อหาเป็นเชิงวิชาการปรากฏใช้หน่วยสร้าง       กรรมวาจกต้นแบบ ร้อยละ 94.98 และที่ลดความเป็นต้นแบบ ร้อยละ 5.02 ขณะที่ในงานเขียนที่มีเนื้อหา      ไม่เป็นเชิงวิชาการปรากฏใช้หน่วยสร้างกรรมวาจกต้นแบบ ร้อยละ 84.38 และที่ลดความเป็นต้นแบบ ร้อยละ 15.62

Downloads

Published

2017-12-04