ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน

Authors

  • ณิชชา ชินธนามั่น
  • ภัทรศญา พ้วยกิ
  • ภาวิณี เดชเทศ
  • สุรีย์พร เพ็งเลีย
  • อัศวพร แสงอรุณเลิศ

Keywords:

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญ, สื่อ, ชีวิตประจำวัน, Reading, main idea, practice, Everyday life media

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดพันปี) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 5 แผน แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญและแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test Dependent) ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญจากสื่อในชีวิตประจำวัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจากสื่อในชีวิตประจำวัน สามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อจับใจความสำคัญของนักเรียนให้ดีขึ้นอีกด้วย

 

This research aims to study a result of reading for main idea exercises from everyday life media and to compare students’ learning achievement before and after using the exercises. Twenty-seven students were purposely selected from Mattayom two students at Tetsaban 5 (Wat Phan Pi School). The instruments used in this research consisted of five lesson plans, English reading exercises for main idea from everyday life media, pre- and post-tests. Data were analyzed by mean, standard deviation and t-test dependent. The results of this research showed students’ learning achievement after using English reading exercises for main idea from everyday life media is higher than before and the difference was statistically significant at the .05 level.  The result also stated that learning and teaching by English reading for main idea exercises from everyday life media are able to improve the students’ English reading skill for finding main idea.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

กลิ่นพยอม สุระคาย. (2544). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่มีภาพการ์ตูนประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

กัญญา ปัญญสุทธ์. (2522). การสร้างแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่องการผันวรรณยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ ชาตะรัตน์. (2545). การอ่าน : เครื่องมือในการแสวงหาความรู้. กรุงเทพฯ: วิชาการ.

พันธุ์ทิพา หลาบเลิศบุญ และคณะ. (2542). ภาษาไทย 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนทรัพย์ นาคนาคา. (2539). การพัฒนาสื่อการเรียนเพื่อเพิ่มทักษะการอ่านหนังสือพิมพ์และวารสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วนิดา โสภาภัณฑ์. (2530). การศึกษาความก้าวหน้าของการอ่านจับใจความในการเรียนซ่อมเสริมวิชาภาษาไทย โดยสอนในและนอกโรงเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิสาข์ จัติวัตร์. (2541). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมพร มันตะสูตร. (2526). การสอนอ่านจับใจความ. กรุงเทพฯ: พีรพัฒนา.

สมุทร เซ็นเชาวนิช. (2542). เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). แนวคิดและเทคนิควิธีการสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณี เวทไธสง. (2544). การพัฒนาความสามรถและแรงจูงใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เอกสารจริง. สารนิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกรินทร์ สีมหาศาล และคณะ. (2551). เรื่องน่าร้สู่การใช้หลักสูตรแกนกลาง 51. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

Day, R. R., & Bamford, J. (1998). Extensive Reading in the Second Language Classroom. New York, NY: Cambridge University Press.

Gillis, J. T. (1984). Increasing newspaper reading comprehension and engagement through concept-oriented reading instruction. Journal of Educational Psychology, 96 (3), 403-423.

Downloads

Published

2018-04-10