การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
DOI:
https://doi.org/10.14456/2016.6Keywords:
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เทศบาลตำบลพลายชุมพลAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลกแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นปราชญ์ชาวบ้านในเทศบาลตำบลพลายชุมพล จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบบันทึกข้อมูลภูมิปัญญาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้รูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลพลายชุมพล อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ที่ศึกษาจำนวน 20 ภูมิปัญญาแยกประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นตามสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ดังนี้หมวดขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ และศาสนาจำนวน 1 ภูมิปัญญา หมวดศิลปกรรม และโบราณคดีจำนวน 7 ภูมิปัญญาหมวดการละเล่น ดนตรี และการพักผ่อนหย่อนใจจำนวน 5 ภูมิปัญญา หมวดชีวิต ความเป็นอยู่ และวิทยาการจำนวน 7 ภูมิปัญญาซึ่งสามารถสรุปภูมิปัญญาท้องถิ่นตามขอบเขตด้านเนื้อหาด้านคติ ความเชื่อด้านการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการและ ด้านการถ่ายทอดและสืบสานได้ดังนี้
ด้านเนื้อหาภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลพลายชุมพลเป็นเรื่องของการใช้ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม ซึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอยู่รอดของบุคคล กลุ่ม และชุมชน ด้านคติ ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลพลายชุมพลส่วนใหญ่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจคนในชุมชนทั้งการเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชนด้วยการละเล่น และกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน รวมถึงประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญในชุมชนล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ด้านการบริหารจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลพลายชุมพล ส่วนใหญ่จะถูกบริหารจัดการโดยผู้นำกลุ่ม ผู้นำชุมชน หรือเจ้าของภูมิปัญญา ด้านการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลพลายชุมพลเกิดจากความจำเป็นในการดำรงชีวิต ความอยู่รอดและความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ด้านการถ่ายทอดและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลพลายชุมพลเกิดจากการได้รับถ่ายทอดมาจากผู้รู้จากเครือญาติและเกิดจากประสบการณ์โดยตรงประกอบกับความสนใจความชอบและความศรัทธาในภูมิปัญญา