แนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/edupsru.2015.13Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการ 2 ขั้นตอน ในขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 151 คน จาก 18 โรงเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง กลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จำนวนทั้งหมด 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมมีปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงของเด็กที่มีความต้องการพิเศษในภาพรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาพิเศษทั้ง 5 ท่าน ได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการประเมินผลตามสภาพจริงว่า
1) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมครูผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถใช้เทคนิคการประเมินตามสภาพจริง 2) ควรตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนารูปแบบการออกข้อสอบให้เหมาะสมการออกข้อสอบให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระการเรียนรู้นั้น 3)โรงเรียนต้องสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีโดย 4) ครูต้องวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการจัดสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ควรใช้วิธีแก้ปัญหาที่หลากหลายโดยให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วม
ในการแก้ปัญหานี้และควรแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล