A Comparison of Low and High Proficiency Secondary School Students' Syntactic Development: How Cognition Affects the Learning of a Foreign Language

Authors

  • สมศักดิ์ แก้วนุช

DOI:

https://doi.org/10.14456/edupsru.2014.7

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการพัฒนาโครงสร้างภาษาระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาปี่ที 2 กลุ่มที่มีความสามารถสูงและกลุ่มที่มีความสามารถต่ำ  2) สำรวจลักษณะโครงสร้างภาษาที่ง่ายและยากสำหรับนักเรียนทั้งสองกลุ่ม    3) ศึกษาผลของทักษะเชิงพุทธิปัญญาที่มีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างภาษาของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม และ 4) ศึกษาลักษณะที่ยากทางโครงสร้างสำหรับนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ผู้วิจัยสอนการเขียนภาษาอังกฤษให้กับทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความสามารถสูงและกลุ่มที่มีความสามารถต่ำ รวม 80 คนในสองภาคเรียนของปีการศึกษา 2556 ที่โรงเรียนองครักษ์ จังหวัดนครนายกโดยเน้นโครงสร้างประโยคและรวบรวมงานเขียนแบบไม่นำทาง 100 ชิ้นงานจากแต่ละกลุ่มโดยใช้แบบฟอร์ม 3 แบบ นอกจากนี้ยังสัมภาษณ์นักเรียน 10 คนจากแต่ละกลุ่ม ผลวิจัยพบว่านักเรียนทั้งสองกลุ่มพัฒนาโครงสร้างภาษาคล้ายกันในด้านโครงสร้างประโยค ทั้งสองกลุ่มผลิตวลีประเภทสองส่วนได้ดี แต่กลุ่มที่มีความสามารถต่ำผลิตวลียาวๆได้น้อยมากและเกือบจะไม่สามารถเรียงวลีใหญ่จากวลีย่อยต่างหน้าที่ได้เลย กลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถสูงผลิตข้อผิดพลาดมากกว่าในขณะที่กลุ่มที่มีความสามารถต่ำผลิตเนื้อหาสำหรับการวิเคราะห์น้อยและผลิตลักษณะภาษาที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษมาก ลักษณะโครงสร้างประโยคที่ทำให้ทั้งสองกลุ่มผลิตข้อผิดพลาดจะเกี่ยวข้องกับการละคำ (omission) ลักษณะที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ (non-English) กาล (tense) การเพิ่มคำ (addition) ความสัมพันธ์ประธานและกริยา (subject-verb agreement) ประโยคไม่สมบูรณ์ (fragment) และ การเรียงคำผิด (misordering) ซึ่งทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความแต่ต่างของภาษาที่ 1 และภาษาที่ 2 ทักษะเชิงพุทธิปัญญามีผลต่อการผลิตโครงสร้างประโยคและวลีที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง จากจำนวนประโยคและวลีที่ทั้งสองกลุ่มผลิตได้อย่างถูกต้องทั้งหมด กลุ่มที่มีความสามารถต่ำผลิตประโยคและวลีที่ถูกต้องได้ 28% และ 26% ตามลำดับ  ขณะที่กลุ่มที่มีความสามารถสูงผลิตประโยคและวลีที่ถูกต้องได้ 72% และ 74% ตามลำดับ ในขณะที่ทั้งสองกลุ่มผลิตข้อผิดพลาดได้เกือบเท่าๆกัน กล่าวคือ กลุ่มความสามารถต่ำผลิต 54% กลุ่มความสามารถสูงผลิต 46% กลุ่มความสามารถต่ำผลิตข้อผิดพลาดที่ไม่ภาษาอังกฤษ (non-English) มากถึง 37% จากข้อผิดพลาดทั้งหมดจากทั้งสองกลุ่ม โครงสร้างประโยคที่ยากคือโครงสร้างที่แตกต่างระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีส่วนขยายกรรม (object complement) หรือมีกรรมรอง (indirect object) หรือโครงสร้างภาษาที่มีกฎพิเศษที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย