รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบบูรณาการ, ทักษะการจัดการเรียนรู้บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง จำนวน 57 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดทักษะการจัดการเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S)
ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่ากับ 40.04 คิดเป็นร้อยละ 80.08 และนักศึกษามีความพึงพอใจ โดยรวมเห็นด้วยในระดับมากที่สุด
References
ขวัญชัย ขัวนา และธารทิพย์ ขัวนา. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบเน้นวิจัย : กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 24(1), 1-16.
ขวัญชัย ขัวนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(2), 77-96.
จารึก อะยะวงศ์. (2560). การศึกษาไทย : ปัญหาอยู่ที่ไหนกันแน่?. สำนักพิมพ์มติชน.
ชนาธิป พรกุล. (2561). กระบวนการสร้างความรู้ของครูกรณีการสอนบูรณาการ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และรัชนี สรรเสริญ. (2555). “การบูรณาการ: กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา”. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 2-13.
ปาริชาต เตชะ และชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการศึกษาชั้นเรียนแบบเรียนรู้ร่วมกันที่ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ (สทมส.) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 24(3), 114-129.
ประเวศ วะสี. (2541). ปฏิรูปการศึกษาไทย : ยกเครื่องทางปัญญาทางรอดจากหายนะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
ประไพ เอกอุ่น. (2552). การศึกษาไทย. สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
ฝ่ายวิชาการ เทคโนโลยีสยาม. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management). โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑา ชุ่มสุคนธ์. (2557). การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการในรายวิชาของสาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีที่ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 423-435.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์ กระทรวงศึกษาธิการ “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน” แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Gonzalez, J. (2012). Promoting higher order thinking in mathematics [Unpublished master’s thesis]. Kean University.
Johnson, D.W., and R.T. Johnson, and E.J. Holubec. (1994). Cooperative in the Classroom. (6th ed). Interaction Book Company.
Joyce, B. and M. Weil. (2009). Model of Teaching. (5th ed). Prentice-Hall.
Joyce, Bruce.R. And Weil, M.With Shjower B. (2000). Model of Teaching. (6th ed). Allyn and Bacon.
Kemp, J.E. ; Morrison, G.R. and ross, S.M. (1998). Designing effective Instruction. (2nd ed). Mervill.
Khuana, K., Khuana, T. & Santiboon, T. (2017). An instructional design model with the cultivating research-based learning strategies for fostering teacher students’creative thinking abilities. Educational Research and Reviews, 12(15), 712-724.
Simmon, C. (2013). Teacher Skills for the 21st Century. http://www.ehow.com/list_6593189.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม