การใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้กระดานอัจฉริยะ สำหรับนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
-
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: กระดานอัจฉริยะ ความรู้ ทักษะ ความตั้งใจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมการใช้กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) สูงกว่าก่อนการอบรมการใช้กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะหลังการฝึกอบรมการใช้กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบความตั้งใจหลังการฝึกอบรมการใช้กระดานอัจฉริยะ (Interactive White Board) กับเกณฑ์ ร้อยละ 80 โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย คือ คู่มือฝีกอบรม แบบทดสอบความรู้ แบบทดสอบวัดทักษะ และแบบทดสอบวัดความตั้งใจ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า จากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้กระดาน Interactive Whiteboard นักศึกษาครู จำนวน 30 คน โดยมีการทดสอบความรู้ก่อนการอบรมและหลังการอบรมเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนก่อนเรียนของนักศึกษาสูงกว่าหลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 อย่าง มีนัยสำคัญ ในการจัดอบรมผู้วิจัยได้มีการเปรียบเทียบทักษะหลังการฝึกอบรมโดยเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 พบว่ามีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และยังมีการเปรียบเทียบความตั้งใจหลังการฝึกอบรมโดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 พบว่ามีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2551). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะการใช้กระดาน IWB ในการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก และสุโขทัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม13(2) , 517-532
Kearney, M., & Schuck, S. (2008). Exploring pedagogy with interactive whiteboards in Australian schools. Australian Educational Computing, 23(1), 8-14.
Manny-Ikan, E., Dagan, O., Tikochinski, T. B. & Zorman, R. (2011). Using the Interactive White Board in Teaching and Learning – An Evaluation of the SMART CLASSROOM Pilot Project. Interdisciplinary Journal of E-Learning and Learning. 7,249-273.
Ajzen, I. and Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs. 23(1), 8-14
Taufik, A. (2010). Inovasi Pendidikan Melalui Problema Based Learning: Bagaimana Pendidik Memberdayakan Pemelajar di Era Pengetahuan. Jakarta: Kencana.
Hennessy and etal., (2007). Exploring pedagogy with interactive whiteboards in Australian schools. Australian: Australian Educational Computing