DEVELOPMENT OF THE NEXT ITEM SELECTION PROCEDURE USING ARTIFICIAL NEURAL NETWORK WITH THE ITEM EXPOSURE CONTROL FOR COMPUTERIZED ADAPTIVE TESTING USING SIMULATED DATA

Authors

  • บูรพา วิถีปัญญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

Next Item Selection, Computerized Adaptive Testing, Artificial Neural Network

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียม 2) พัฒนาโปรแกรมจำลองการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไประหว่างใช้ วิธีการสุ่ม (R) วิธีการใช้ค่าสารสนเทศสูงสุด (MI) และวิธีการใช้โครงข่ายประสาทเทียม (ANN) โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ พิจารณาจากค่ารากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) และค่าความลำเอียงเฉลี่ย (Average Bias) และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้คลังข้อสอบโดยพิจารณาจากข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบ โดยจำลองค่าความสามารถจริงของผู้สอบ 1,000 ค่า และคลังข้อสอบ 500 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย One-Way ANOVA

  1. 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมจำลองการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ ได้โปรแกรมจำลองการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการควบคุมข้อสอบ มีวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้ดถัดไปโดยใช้โครงข่ายประสามเทียม ประมาณค่าความสามารถด้วยวิธีความน่าจะเป็นสูงสุด และการยุติการทดสอบด้วยเกณฑ์ตามค่ามาตรฐานความผิดพลาด (SE) น้อยกว่า 0.40

References

จุมพล อิสระวิสุทธิ์. (2561). การตรวจสอบคุณภาพของข้าวฮางงอกจากลักษณะทางรูปร่าง สีและพื้นผิวด้วยโครงข่ายประสาทเทียม. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์). บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประพล เปรมทองสุข. (2560). การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้เกณฑ์ของเฮอร์วิคซ์และมีการควบคุมการใช้ข้อสอบ สำหรับทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. ดุษฎีนิพนธ์ (สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา). วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชกฤช ธนพัฒนดล. (2561). การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปโดยใช้วิธีอาณานิคม สำหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา). วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
โสฬส สุขานนท์สวัสดิ์. (2556). การพัฒนาวิธีการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปในการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีการตัดสินใจ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและเทคโนโลยีทางวิทยาการปัญญา). วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฏีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Magis D, Raiche G (2012). Random Generation of Response Patterns under Computerized Adaptive Testing with the R Package catR. Journal of Statistical Software, 48(8), 1-31.

Downloads

Published

2021-09-14