แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ 1) อาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ รวม 110 คน ที่ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย 2) ประธานหลักสูตรและเลขานุการของหลักสูตรหรือผู้ที่ได้รับการแนะนำจากประธานหลักสูตร รวม 24 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตรเบื้องต้น 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการใช้หลักสูตร 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวโน้มและภาวะคุกคามของหลักสูตร ดำเนินการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเบื้องต้น ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการใช้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 และพบปัญหาการใช้หลักสูตรทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร 2) ด้านการบริหารหลักสูตร 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน
- แนวโน้มของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) โครงสร้างของหลักสูตร 3) เนื้อหาสาระของหลักสูตร 4) แนวทางการจัดการเรียนการสอน 5) วัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน 6) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร และพบภาวะคุกคามของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏใน 5 อันดับแรกได้แก่ 1) ประชากรและผู้เรียนลดลง 2) ไวรัสโคโรน่าและการบังคับใช้การสอนแบบออนไลน์อย่างเร่งด่วน 3) อาจารย์ดนตรีศึกษามีภาระงานสอนมากเกินไป 4) นโยบายหรือกฎเกณฑ์จากส่วนกลางปรับเปลี่ยนโดยตลอด และ 5) การแข่งขันกับมหาวิทยาลัยใหญ่และมหาวิทยาลัยราชภัฏในพื้นที่ใกล้เคียง
- แนวทางการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านรายละเอียดหลักสูตร 2) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรด้านบทบาทของที่ผู้เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์ (หลักสูตรสี่ปี) พุทธศักราช 2562. เอกสารอัดสำเนา
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา : หลักการและสาระสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2561). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี. เอกสารอัดสำเนา.
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบันฑิต 4 ปี อิงสมรรถนะ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. เอกสารอัดสำเนา.
เทียนฉาย กีระนันทน์ และคณะ. (2558). สถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา 20302 เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนรัชต์ การพิมพ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรนภา มีชํานาญ และคณะ. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีตอสิ่งสนับสนุนในการเรียนการสอนของสาขาวิชาดนตรีศึกษาและสาขาวิชาดนตรีสากลมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2563, 385-393.
เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2540). การวิจัยเชิงสำรวจทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2561). ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. http://www.psru.ac.th/history/his_2.html วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563.
เมธาวี จำเนียร และ กรกฏ จำเนียร. (2561). ประโยชน์ปัญหาและแนวทางแก้ไขการใช้สื่อออนไลน์ในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 16(3), 113-121
ศักดิ์ชัย หิรัญรักษ์. (2554). มาตรฐานวิชาชีพครูดนตรีศึกษาของไทย : มาตรฐานด้านภูมิการดนตรีและภูมิการศึกษาที่ครูดนตรีศึกษาควรรู้และกระทำได้. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 (Thai Qualifications Framework for Higher Education). เอกสารอัดสำเนา.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. http://www.vck.ac.th วันที่สืบค้น 5 มิถุนายน 2563.
สุขวสา ยอดกมล. (2551). วิธีวิทยาในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุคนธ์ ภูริเวทย์. (2542). การออกแบบการสอน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2557). มโนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 1(2), 68-78.
Incze, L. S. (2013). Popular Guitar Pedagogy. Master Thesis of Master of Arts in Educational Leadership. McGill University.
Stampfli, L. T. (2006). A Survey of Digital Music Technology Implementation by Graduate and Undergraduate Piano Pedagogy Faculty in American Colleges and Universities. Doctoral Dissertation of Doctor of Philosophy in Music. University of South Oklahoma.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์เป็นของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม