ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารละลายกรดและเบส โดยใช้การจัดการรู้เรียนแบบบูรณาการเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน เบ้าทองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
  • กฤษณา ปิ่นป้อง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนทดสอบและหลังการทดสอบทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องสารละลายกรดและเบสโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ตัวอย่างประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1จ านวน50คนโรงเรียนวิทยานุกูลนารีอ าเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจ านวน5แผนโดยใช้การจัดการเรียนรู้4 รูปแบบคือ1) การจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้หรือ5E 2) การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน3) การจัดการเรียนรู้แบบเชิงวิศวกรรมและ4) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานการจัดการเรียนรู้ทั้ง 4 รูปแบบ ผู้วิจัยได้ออกแบบให้มีการบูรณาการร่วมกันทั้ง 4 รูปแบบ ซึ่งผลการจัดการเรียนรู้แต่ละรูปแบบจะเชื่อมโยงกัน ผลการประเมิณการจัดการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญมีความตรงในเนื้อหาเท่ากับ0.98 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจeนวน30ข้อเป็นแบบเลือกตอบ4ตัวเลือกโดยใช้สถิติร้อยละค่าเฉลี่ยและการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ9.76 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ19.70อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

Author Biography

น้ำฝน เบ้าทองคำ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Education department

References

กชรัตน์ วิกล. (2550). ประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะควบคู่การประเมินตามสภาพจริง เรื่อง การแยกสารและสารละลายกรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์. สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน.ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ปิยมาศ อาจหาญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์. กศ.ม. (การศึกษามัธยม). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรภัทร สินดี. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตสาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่องลำดับอนุกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษามัธยม). สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2551
พิศเพลิน เขียนหวาน, และวิชิต บุญสนอง. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสาหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
วาสนา กิ่มเทิ้ง. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-BasedLearning) ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริธร อ่างแก้ว. (2557). บันทึกหลังการสอนวิชาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557. โรงเรียนสกลนครพัฒนศึกษา. จังหวัดสกลนคร.
สกนธ์ชัย ชะนูนันท์. (2560). สะเต็มศึกษา : แนวทางการเรียนรู้มุ่งสู่ศตวรรษที่ 21. ใน รายงานการอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ (3-4 มิถุนายน 2560 หน้า 157-177). เพชบูรณ์ : ศูนย์สะเต็มศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
สิรินทรา มินทะขัติ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Probiem – Baesed Learning). เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีต่อความสามารถในการวิเคราะห์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 3. ปริญญานิพนธ์. สาขาวิชาการมัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
หิรัณย์ ศุภวนนิมิต. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาไฟฟ้า. แผนกวิชาไฟฟ้ากำลังภาควิชาอุตสาหกรรม.วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-22