ผลการใช้กิจกรรม Brain-DISCOPE ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย (ตามยุทธศาสตร์ 20 ปี 2560-2579)
DOI:
https://doi.org/10.14456/edupsru.2018.12Keywords:
กิจกรรม Brain-DISCOPE, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560-2579),เด็กปฐมวัยAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม Brain-DISCOPE ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรม Brain-DISCOPE จำนวน 16 หน่วย 80 แผน 2) แบบประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ จำนวน 5 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลท่าตะโก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 30 คน กำลังศึกษาอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เป็นเวลา 16 สัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่า 1) เด็กปฐมวัยมีความรู้ในเนื้อหา โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ( x̄= 92.29) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 48.88) 2) เด็กปฐมวัย มีพฤติกรรมคุณธรรมโดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 83.12) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 47.78) เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̄= 85.67) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 45.83) 3) เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมวิถีพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x̄= 74.23) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 72.00) 4. เด็กปฐมวัยมีวัฒนธรรมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับดี ( x̄=81.25) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 46.66) และ 5. เด็กปฐมวัยมีวิธีการคิดอิงอนาคต โดยรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 76.38) และอัตราความก้าวหน้าในการเรียนรู้อยู่ในระดับเป็นที่น่าพอใจ ( = 66.66)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: เบรน- เบสบุ๊คส์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พิกุล เกิดปลั่ง (2554) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณแบบโครงการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย. ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2545). การพัฒนาเครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินหลักสูตร ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน หน่วยที่ 8 (หน้า 87-144). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สถาบันวิทยาการเรียนรู้. (2548). หลักสูตรการเรียนรู้แบบ Brain-based learning. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์. (2550). เลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูกรัก. กรุงเทพฯ : ฐานบุคส์.
สํารวย สุขชัย. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Bandura, Albert. (1997). Self – efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman.
and company.
Grégoire, R., & Laferrière, T. (1998). Project-based Collaborative Learning with Network Computers: Teachers' Guide. Ottawa: SchoolNet.
Lowenfeld, V. (1975). Creation and mental growth. 6 th ed. U.S.A. : Mac Millan.
Pavlov, I. P. (1928). Lectures on Conditioned Reflexes. New York: International Publishers.
Rech, Janice F. (1991). “The relationships between Mathematics Attitude. Self-concept,
Learning style, Socioeconomic Status, Gander, And -Mathematics Achievement
Among Four and eight – grade Black student,” DissertationAbstracts International.
Vol.52 No2 : 457–A.
Sidman-Taveau, R., & Milner-Bolotin, M. (2001). Constructivist inspiration: A project-based model for L2 learning in virtual worlds. Texas Papers in Foreign Language Education, 6(1), 63-82.
Skinner, B.F. (1972). Beyond Freedom and Dignity. New York: Alfred A. Knopf.