ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
DOI:
https://doi.org/10.14456/edupsru.2019.5Keywords:
การจัดการเรียนรู้/วิทยาศาสตร์/ห้องเรียนกลับทางAbstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70และเพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนกวงฮั้ว จังหวัดระยอง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และแบบวัดเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติ t- test Dependent Sample ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง(Flipped Classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) มีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมากReferences
พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาสตร์.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
นิชาภา บุรีกาญจน์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มี
ต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2550). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วิเชียร วัฒนกุลไพศาล. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อ
วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเสาะ
หาความรู้ 7 ขั้น กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมนึก ภัททิยาธานี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์. ประสานการพิมพ์.
สุภาพร สุดบนิด. (2556). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียน และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง ( Flipped Classroom ) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุรพล บุญลือ. (2556). ผลการเรียนที่ใช้ วิธีการสอนแบบย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนแบบกลับด้านบเครือข่ายสังคมในรายวิชาการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สุรศักดิ์ ปาเฮ.(2556). ห้องเรียนกลับทาง: ห้องเรียนมิติใหม่ในสตวรรษที่ 21.สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2559
จาก http://phd.mbuisc.ac.th/academic/flipped classroom2.pdf.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2557). ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 บทสรุป
และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.
(2551) .ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
Maureen J. Lage, Glenn J. Platt, Michael Treglia. (2000). “Inverting the Classroom:
A Getewayto Creating an inclusive Learning Environment”.The Journal of Economic Education.