สภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Authors

  • สมหมาย อ่ำดอนกลอย

DOI:

https://doi.org/10.14456/edupsru.2019.3

Keywords:

สภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ความพอประมาณ, ความมีเหตุผล, ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี, นักศึกษาคณะครุศาสตร์

Abstract

งานวิจัยเรื่อง สภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วัตถุประสงค์การวิจัยคือศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 217 คน เครื่องมือการวิจัยมี 1 ฉบับ คือ แบบสอบถามสภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ (Rating scale)   มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.8 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.8662สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามมีสภาพการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ด้านการมีภูมิคุ้มกันมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านความมีเหตุผลมีค่าเฉลี่ยสูงรองลงมา ส่วนด้านความพอประมาณนั้นพบว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ด้านความพอประมาณ พบว่า การทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ รองลงมาคือการไม่ซื้อของเพราะว่าเขาลดราคา ด้านความมีเหตุผล การใช้เวลาเพื่อเล่น Social หรือ เกม มากกว่าค้นหาความรู้ในแต่ละวันมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด รองลงมาคือการเป็นผู้มีวินัยทางการเงิน และในด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดีการออมเงินอย่างสม่ำเสมอมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด รองลงมาคือการเลือกคบเพื่อนที่เป็นคนดีเท่านั้น

 

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2553:65).พฤติกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2550). การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.
ชุมพลภัทร์ คงธนจารุอนันต์. (2551). การดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในหมู่บ้านมะจับ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
ณรัชช์อร ศรีทอง.(2556). แนวคิดหลักการและการปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ:โอเดียน
สโตร์.
ณัฐสุชน อิทราวุธ. (2557:กรกฎาคม–กันยายน). การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยบนเส้นทางสู่อนาคต.วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 51(3):22
ณัฐวุฒิ บำรุงแจ่ม. (2550). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินชีวิตของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผกาพันธ์ อินจำปา. (2554). การปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครอบครัวโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญญะรักษ์ คำนวณชัย. (2552).การปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พระมหาอนุชา ทองทา. (2553). ความรู้และพฤติกรรมในการใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุกันยา แก้วสุวรรณ. (2557). การรับรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ค่านิยมในการทำงาน กับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา:โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อมราวรรณ ทิวถนอม, (2557:เมษายน-มิถุนายน). ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม.51(2):6
พิษณุ ตุลสุข. (สัมภาษณ์),10 พฤษภาคม 2560. Retrieved November 10, 2017,from http:www. Komchadluek.net/news/edu-health/27607
Dr. SurakiatSathirathai.( 2004). Minister of Foreign Affairs of Thailand at the Luncheon held at upon the occasion of Ministerial Meeting of the Tenth Summit of the Francophonie Ouagadougou, Burkina Faso, 24 November 2004.

Downloads

Published

2019-06-19