ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก

Authors

  • สายฝน ตันตะโยธิน
  • Pitchwara Janyam

Keywords:

คอมพิวเตอร์, เวชระเบียน, ศัพท์แพทย์

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน ระหว่างก่อนใช้กับหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน

วิธีดำเนินการวิจัย:เก็บกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559  วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน แบบฝึกหัดเสริมทักษะ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบประเมินคุณภาพของสื่อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการทดสอบค่าที่ (pair T-test)

ผลการวิจัย:ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่สอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของนักศึกษากลุ่มทดลองสูงกว่านักศึกษาที่สอนโดยวิธีการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้นักศึกษามีความรู้เรื่องศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน หลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มากกว่าก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าโดยรวมในระดับมากที่สุด (= 4.57)  เมื่อพิจารณาระดับค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน พบว่าด้านประโยชน์ของสื่อมีค่าเฉลี่ยสูงเป็นอันดับแรก  (= 4.60) รองลงมาคือด้านรูปแบบของสื่อ ( = 4.56) และด้านเนื้อหาของบทเรียน (= 4.53)

สรุปผลการวิจัย: จากการศึกษาครั้งนี้ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน ที่สามารถเป็นต้นแบบและนำไปประกอบการเรียนในรายวิชาศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน ที่มีบริบทคล้ายกันได้ สามารถนำไปทบทวนบทเรียนและฝึกฝนในการเรียนในรายวิชาศัพท์แพทย์และสามารถนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้สร้างขึ้นนำไปถ่ายทอดเป็นบทเรียน E-Learning สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาใน เรื่อง ศัพท์แพทย์สำหรับงานเวชระเบียน

References

จุฑามาศ เอี่ยวเจริญและคณะ. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ยาที่ใช้รักษาโรคอายุรกรรมสำหรับนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. นนทบุรี :วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.

จุติมา แก้วก่าและคณะ. (2559). การพัฒนาสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การให้รหัสทางการแพทย์ 1 (รหัสตัว A-H) สำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. สาขาวิชาเวชระเบียน ชั้นปี 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. นนทบุรี: วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก.

ปณภา ภิรมย์นาค. (2557). การใช้สื่อการสอนเชิงมัลติมีเดียเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชา LSC303/LSM211 การจัดการขนส่ง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. วท.บ.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปริญญา อินทรา. (2556). การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง วงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.อ.ม. (สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปาริชาติ จันทร์เที่ยง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนแท็บเล็ต เรื่องจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลัดดา ศุขปรีดี. (2523). เทคโนโลยีการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.

วรรณิษา อินสําอางค์, เสาวนีย์ นาคีรักษ์ และเดชาวุฒิ วานิชสรรพ์. (2558). บนเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง คําศัพท์ภาษาอังกฤษสําหรับผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. The 3rd ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2). สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560 จาก https://www.aucc.csit.rru.ac.th/ Upload/402-292-camera-ready.pdf

Downloads

Published

2018-10-08